แม่น้ำโขง

“เสียงจากภาพ” (Photovoice) โดยสามัญชนคนธรรมดาริมแม่น้ำโขง

ชุมชนริมแม่น้ำโขงที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขง กำลังประยุกต์ใช้เครื่องมือวิจัย “เสียงจากภาพ” เพื่อถ่ายทอดมุมมอง ตัวตน อัตลักษณ์​ โลกทัศน์ อารมณ์ความรู้สึก จินตนาการ ความเป็นอยู่ ความต้องการ และความใฝ่ฝัน ผ่านภาพและเรื่องเล่าเกี่ยวกับภาพที่ผลิตสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้มีอำนาจและมุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงในอนาคต “เสียงจากภาพ”

ฉันคือแม่น้ำโขง… ชดเชยและเยียวยาความสูญเสียของฉันได้ไหม?

รองศาสตราจารย์ ดร. กนกวรรณ มะโนรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เสนอให้มีการชดเชยและเยียวยาความสูญเสียของแม่น้ำโขงและของผู้คนที่พึ่งพาอาศัยแม่น้ำสายนี้ ผ่านงานเขียนเชิงอุปมาอุปไมยให้สายน้ำมีชีวิตและส่งเสียงเรียกร้องการชดเชยและเยียวยาด้วยตัวเองอีกครั้ง (Metaphorical approach) การดำรงอยู่ของฉัน… แม่น้ำโขง… ร่างกายของฉันทอดยาวกว่า 4,000

“เขื่อน” ความป่วยไข้ และความตายอย่างช้าๆ ของระบบนิเวศแม่น้ำโขง

ณ “เก้าพันโบก” บริเวณบ้านกุ่มและบ้านตามุย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม ซึ่งห่างจากจุดที่คาดว่าจะสร้างเขื่อนบ้านกุ่มราวๆ 10 กิโลเมตร ความป่วยไข้และความตายของระบบนิเวศแม่น้ำโขงอาจปรากฏต่อสายตาขึ้นอีกครั้งหากมีการก่อสร้างโครงการเขื่อนบ้านกุ่มที่มีกำลังการผลิตติดตั้งถึงกว่า 1,782 เมกกะวัตต์ รองศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมอนุภาคแม่น้ำโขง