Climate experts predicted that global temperatures would rise to 2 degrees Celsius or beyond even though COP27 stood firm on a commitment to keep global temperatures below 1.5 degrees Celsius. They pointed out that global and national adaptation strategies would become more important than before while Thailand’s strategies on all fronts still lagged, including the much-needed adaptation strategy
COP27 in 2022 brought hopes of keeping global warming below 1.5 degrees Celsius, as it came after COP26 in Glasgow, the United Kingdom, where the global community made concrete efforts to phase down or phase out fossil fuels. But COP27’s attempts were relatively lax, compared to those made in COP26. There was only a promise to try to maintain the target of 1.5 degrees Celsius while the COP meeting focused on spending huge amounts of money to provide relief to those affected by climate change including an announcement of the Loss and Damage Fund.
Climate experts and policymakers in this matter analyzed the outcomes of the negotiations at COP27 and their implications on the climate policies of Thailand shortly after the meeting in the forum, “From Glasgow to Egypt, implications for Thailand and the world’s global warming policy”.
Assoc.Prof. Dr. Seree Supratid, who was a director of the Climate Change and Disaster Center at Rangsit University and now an advisor to FutureTales Lab by MQDC, said this COP meeting brought to the table the agenda concerning adaptation and came up with a more tangible work program than any previous COPs. It also came up with the new Loss and Damage Fund, which has long been discussed among negotitors without any tangible conclusion before.
The trend in the world will shift towards CRDP (Climate Resilience Development Pathway), and countries need to equip themselves to embrace this trend, he said.
Held in Sharm El Sheikh in Egypt in November 2022, COP27 pointed to a pathway to achieve the goal of investing in clean and efficient technology to transform into a low-carbon society, but no tangible outcomes were provided. The highlight was given to the global agreement to establish the Loss and Damage Fund, which was seriously pushed by civil society and aggressive performance from Pakistan which had experienced the historical flood caused by climate change.
All agreed that it should be a kind of new funding agreement, under which a transitional committee would be set up for working in detail. Previously, in COP15 in Copenhagen, developed countries committed to mobilising climate finance worth US $100 billion a year by 2020 to subsidize developing countries. Unfortunately, the amount of money was still far from the target, putting it under pressure to fulfil the commitment.
Dr. Buntoon Srethasirote, Director at the Good Governance for Social Development and Environment Institute, told the forum that the world’s economy has been driven by two trends climate change and energy transition.
The energy sector is the largest GHG emissions, accounting for 70% of the total amount of GHG emissions worldwide. Similar to Thailand, the energy sector has discharged 71% of GHGs into the atmosphere. So it does need to move to alternative energy, phase down of unabated coal power, and phase out inefficient fossil fuel subsidies.
It is estimated that the globe should invest around US $4-6 trillion per year to transform into a low-carbon economy. About US $4trillion per year needs to be invested in renewable energy up until 2030 to be able to reach net zero emission by 2050. A shift to a low-carbon economy has required active movement from all stakeholders at global, regional, bilateral, national, to business levels.
The EU has already implemented CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) regulation to limit carbon emissions in product manufacturing. China and the US achieved a bilateral agreement to limit greenhouse gas emissions. The US has recently launched the tax-based Inflation Reduction Act to promote renewable energy to cut off GHG emissions by 40%.
Meanwhile business sector has been forced to drive into a low-carbon economy, and many international companies are now looking for 100% renewable energy as a regulation of investment. However, a shift to a low-carbon economy should not be regarded as a cost, but benefits because it could create green jobs. The issue of Just Transition should be seriously addressed to assist workers who might be affected by losses of jobs when the globe moves from fossil-based energy to renewable energy.
Thailand, among vulnerable countries against climate change impacts, has taken a significant step by giving a promise to achieve its ambitious goal for carbon neutrality by 2050, and Net Zero by 2065. It would do more to achieve its Nationally Determined Contributions (NDCs) to reduce GHG emissions by 40% by 2030.
Regarding Thailand’s pathway to achieve a low-carbon society, it has established a Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy. The plan has included efficiency improvement in power plants, use of renewable energy, phase-out of fossil fuels, and use of solar and winds by 2030. In 2040, it will phase down coal power plants and use 68% share of RE electricity. In 2050, it will phase out coal power plants and implement net zero electricity and biomass-based generation fully equipped with carbon capture storage technology.
Dr. Siripha Junlakarn, of the Energy Research Institute (ERI) which conducted the research with partners, Clean, Affordable and Secure Energy for Southeast Asia, CASE, said the country is still far from its target in 2050. To reach the target, the government should implement a measure to phase out coal power plants by 2030, increase renewable energy production to 84% by 2050, and promote EV vehicles in the transport sector by 50%, alongside increasing the carbon sink of forest complexes and the sea and employing advanced technology for carbon storage.
Other measures include tax-intensive and old car decommissioning. It requires around 2-5% of the country’s GDP to shift to a low carbon emission country, but this could draw Bt 4.5 trillion investment in return, together with job creation of over 8 million jobs by the year 2050.
The issue of Climate Resilience Development and Climate Convergence trend will be the world’s action frameworks to achieve resilience alongside global low-carbon emissions. For domestic drivers, the country needs to deregulate outdated laws and promulgate new laws to intensively deal with climate change.
Climate finance should be functional to encourage green business trade such as carbon prices, carbon markets, climate funds and climate bonds. It should advance innovative technology such as energy storage systems, carbon capture storage, and carbon capture and utilization. At the same time, it needs to have new infrastructure to facilitate green power connections such as smart grid, RE grid and EV charging network.
Participants at the forum, meanwhile, raised concerns about the government’s mitigation and adaptation strategies against climate change, saying that a chance to keep the global temperature below 2 degrees Celsius is extremely low, and Thailand will be at a loss due to climate impacts.
Both mitigation and adaptation plans should be upgraded. Another concern is related to the newly-established Loss and Damage Fund, which will be controlled by developed countries and giant business entrepreneurs, giving the climate change-impacted countries less power and access to the fund.
FB LIVE RECORDING: Dialogue Forum 4 I Year 3: From Glasgow to Egypt, COP 27 and Implications on Thailand’s Climate Policies and Actions
ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศคาดอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นแตะ 2 องศาเซลเซียสและมีแนวโน้มเกินเลยกว่านั้น แม้เวที COP27 จะยึดเป้าหมายรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ชี้ยุทธศาสตร์การปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกและระดับชาติมีความจำเป็นสำหรับการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติที่จะมาถี่และทวีความรุนแรงขึ้น พร้อมประเมินไทยยังบกพร่องทั้งยุทธศาสตร์ปรับตัวและแผนลดก๊าซเรือนกระจก
เวที COP27 นำมาซึ่งความหวังในการรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นการจัดประชุมหลังมีความพยายามทำให้เกิดรูปธรรมในการลดหรือยกเลิกการใช้พลังงานจากฟอสซิลในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร แต่ COP27 กลับทำให้ความพยายามดังกล่าวหละหลวมกว่าเดิม มีเพียงการให้คำมั่นสัญญาว่าจะพยายามรักษาเป้าหมายไว้ที่ 1.5 องศาฯ และหันไปเน้นการใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนคือ การประกาศตั้ง Loss and Damage Fund ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศและผู้จัดทำนโยบายในเรื่องดังกล่าวได้ร่วมวิเคราะห์ผลการเจรจาฯ ที่ COP27 และแนวทางในการดำเนินการรวมทั้งนโยบายของประเทศไทยหลังการประชุมดังกล่าวในเวทีเสวนา “จากกลาสโกว์ถึงอียิปต์, นัยยะต่อนโยบายโลกร้อนไทยและโลก” หลังการประชุมเสร็จสิ้นในเวลาไม่นานนัก
รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิตและผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ( Intergovernmental Panel on Climate Change, IPCC) กล่าวว่า ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (Conference of Parties) COP27 ที่เมือง Sharm-El-Sheikh ประเทศอียิปต์ สิ่งที่ดีใจมากที่สุดก็คือ agenda เรื่องการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ( Adaptation) ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงและให้ความสำคัญหลังจากเฝ้ารอมาหลายสมัยไม่ค่อยมีการพูดถึงมากนัก ทั้งนี้จากรายงานฉบับที่ 6 ของ IPCC คาดการณ์ว่าประมาณปี 2025-2026 มีโอกาสครึ่งต่อครึ่งที่อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มสูงขึ้นเกินเลยไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส โอกาสที่จะคุมอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส มีแค่ 5 % เท่านั้นเมื่อดูสถานการณ์แวดล้อมในปัจจุบัน
รศ.ดร.เสรีประเมินว่าตัวเลข 2 องศาเซลเซียส คงหนีไม่พ้น ด้วยความเชื่อมั่นสูง ซึ่งประเมินแล้วตัวเลขน่าจะไปแตะที่ 2.7-3 องศาเซลเซียส ในปี 2100 เป้าหมายที่พูดกันใน COP26 ที่ประเทศต่างๆ จะร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ภายในปี 2030 เมื่อดูเป้าหมาย NDC (Nationally Determined Contribution) ของแต่ละประเทศที่ส่งกันมาแล้ว ยังไงก็ไปถึงเป้าหมายนั้นไม่ได้ มันเหนื่อยที่จะทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1.5 องศาเซลเซียสภายใต้ NDC ของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
เพราะฉะนั้นอุณหภูมิโลกมีแต่จะเพิ่ม ณ สุทธิแล้วแม้เราจะวางเป้าหมายลดปัญหาอย่างทะเยอทะยาน จะ Net Zero 2030 หรืออะไรก็แล้วแต่ ระดับอุณหภูมิโลกก็จะเพิ่มขึ้นเกินเลยไปถึง 2 องศาเซลเซียสแน่นอนในช่วง 2030-2070 ถามว่าไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นไหม ในทางวิทยาศาสตร์นับว่าปฏิเสธไม่ได้เลย ผลกระทบภัยทางธรรมชาติมันจะหนักขึ้นแรงขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา ตรงนี้เราจึงต้องมียุทธศาสตร์การปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Adaptation Strategy ถ้าไม่ดูเรื่องนี้ คิดว่าไปไม่รอด รศ. ดร.เสรี กล่าว
รศ. ดร.เสรีกล่าวว่า IPCC แนะนำว่าจุดยืนของประเทศต่างๆ ต่อความรุนแรงด้านภัยพิบัติธรรมชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น ถ้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็ควรมุ่งเป้าไปสู่เรื่องของยุทธศาสตร์การบรรเทาผลกระทบ Mitigation Strategy แต่หากเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แนะนำว่าต้องให้ความสำคัญกับ Adaptation Strategy ถ้าหาก Adaptation Strategy ไม่วางให้ดี ไม่สามารถสร้างทักษะ “ล้มแล้วลุกเร็ว” (Resilience) ซึ่งพูดกันถึงมากในโลกปัจจุบันและอนาคต ต่อให้วางเป้าหมายจะ Net Zero จะเป็นกลางทางคาร์บอน อะไรต่างๆ ก็ไม่ใช่ทางที่ยั่งยืน อาจจะยั่งยืนได้แค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ในอนาคตเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมันมีช่องทางเดินที่แคบมากในการสร้างทักษะล้มแล้วลุกเร็ว ถ้าไม่เริ่มหรือเริ่มช้าก็ต้องเลือกเอาว่าโลกจะอยู่ในยุคเจริญรุ่งเรืองอุณหภูมิเพิ่มต่ำกว่า 1.3 องศาเซลเซียส หรืออยู่ในยุคสีเขียวอุณหภูมิเพิ่ม 1.5 องศาเซลเซียส หรืออยู่แบบยุคนี้ 2 องศาเซลเซียส หรือจะเข้าสู่ยุคมืดมนสูงกว่า 2 องศาเซลเซียส จากนี้ไปเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) จะเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว โลกจะไปสู่หนทางการพัฒนาให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้แบบล้มแล้วลุกเร็ว CRDP (Climate Resilience Development Pathway)
รศ. ดร.เสรีกล่าวว่า สำหรับประเทศไทยเรื่องของ Adaptation และ Mitigation Strategy ยังมีปัญหาและมีไม่เพียงพอ ขาดเอกภาพ มีสองหน่วยงานที่เกี่ยวพันกับเรื่องนี้คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สองหน่วยงานนี้ทำงานแบบต่างคนต่างเดิน ไม่มีโอกาสเจอกัน ควรต้องทำงานประสานกันเพื่อกำหนดแผนเป็นภาพรวมของประเทศว่าจะวางยุทธศาสตร์ด้าน Adaptation ซักกี่เปอร์เซ็นต์ Mitigation ซักกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ดูเรื่องนี้ ประเทศจะไปไม่รอด
ตัวอย่างง่ายๆ ก็เห็นแล้วว่าพิบัติภัยธรรมชาติในประเทศไทยเองมีความถี่และความรุนแรงขึ้น เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมทุกภาคเป็นโดมิโนตั้งแต่ต้นปี รายงานของ IPCC ก็ว่า 91%ของภัยพิบัติธรรมชาติในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมันมีอัตราที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าจากปี 1976-1995 จำนวน 3,017 เหตุ มาเป็น 6,392 เหตุ ในช่วงปี 1996-2015 ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นไม่หยุด
โลกก็จะมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ถี่ขึ้น อากาศจะร้อนรุนแรง เกิดภัยแล้ง พายุ น้ำท่วม ดินถล่มหนักขึ้น ทุกอย่างนี้กระทบต่อเรื่องความมั่นคงเกี่ยวกับน้ำ ความมั่นคงทางอาหาร และอื่นๆ ซึ่งเรื่องน้ำนั้น ในเวที COP27 ก็มีการพูดถึงเรื่อง Water Adaptation ด้วย เรื่องนี้จะเป็นวาระต่อไปที่จะถกกันใน COP หน้า
รศ.ดร.เสรีกล่าวว่า ในส่วนของไทยเองเรื่อง Adaptation Strategy เกี่ยวกับการรับมือความเปลี่ยนแปลงในส่วนของเรื่องน้ำเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันแล้วโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศ แผนระยะ 8 ปี 30 ปี 50 ปี จะทำกันอย่างไร ภาพกทม. ในอนาคตนั้นชัดเจนว่าจมน้ำ ฉายภาพกันให้เห็นเลยว่ายังไงก็เกิดขึ้น มันเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแน่นอน ต้องมีนโยบายว่าจะทำอะไรรับมือการเปลี่ยนแปลงจากนี้ ในเวที COP27 ก็มีการพูดถึงการสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า early warning ซึ่งก็สำคัญกับเราเหมือนกัน ที่ผ่านมาข้อมูลที่คนอยากรู้ก็คือ มีโอกาสจะถูกน้ำท่วมเมื่อไหร่ ท่วมแค่ไหน ยาวนานแค่ไหน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังไม่มีใครตอบได้ เป็นจุดอ่อนของเราจุดหนึ่งที่ต้องปรับปรุงต่อไป
รศ.ดร.เสรีกล่าวว่า รายงานฉบับที่ 6 เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IPCC นี้ ต้องบอกเลยว่าทั้งหลักฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ หลักฐานเชิงประจักษ์ มันชัดเจน สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสิบปีหลัง สามารถคาดการณ์เหตุต่างๆ ได้อย่างแม่นยำจนเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ Antonio Guterres ต้องออกประโยคกระตุ้นเตือนมาเป็นระยะในช่วงปี 2021-2022 ไม่ว่าจะเป็น Code red for humanity หรือสัญญาณเตือนสีแดงสำหรับมนุษยชาติ, Atlas of humanity suffering แผนที่ความทุกข์ยากของมนุษย์, A litany of broken climate promise บทสวดสัญญาณสภาพอากาศที่แตกสลาย, A highway to climate hell ถนนสู่นรกสภาพภูมิอากาศ
ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัตน์เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในเวที COP27 มีความพยายามทำให้เกิดสมดุลย์โดยจะเห็นว่าทุกปีความสำคัญจะไปอยู่ที่เรื่อง Mitigation บรรเทารักษาระดับอุณหภูมิโลกให้เพิ่มสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสและพยายามไม่ให้ไปถึง 2 องศาฯ แต่เวทีนี้เติมเรื่องการปรับตัว Adaptation เข้ามาด้วย
ก่อนหน้านี้เรื่อง Adaptation ถูกเรียกว่าเป็นลูกเลี้ยง CO27 ได้พิจารณาให้มีการจัดตั้ง Work Program on the Global Goal on Adaptation ส่วนเรื่องกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายจากภัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Loss and Damage Fund ที่ถูกเรียกว่าเป็นลูกกำพร้า ถกเถียงกันมายาวนานมากแต่จัดตั้งไม่เคยสำเร็จ ก็มาทำสำเร็จเป็นประวัติศาสตร์ใน COP นี้ มีการกำหนดให้กองทุนดังกล่าวประชุมกันอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยมีการตั้งคณะกรรมการเปลี่ยนผ่าน Transitional Committee ขึ้นมากำหนดภารกิจ โครงสร้าง รูปแบบบริหารจัดการ การกำกับดูแล ตรวจสอบกองทุน กำหนดแหล่งเงินที่จะป้อนเข้ากองทุน ที่สำคัญต้องเป็นเงินทุนก้อนใหม่ ไม่ใช่นำเงินอุดหนุนเดิมที่มีอยู่ตามกองทุนอื่นๆมาใช้
ดร.บัณฑูรกล่าวว่า วันนี้โลกเราถูกขับเคลื่อนด้วย 2 เมกะเทรนด์ ได้แก่เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน กิจกรรมภาคพลังงานนั้นปล่อยมลพิษทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกกับโลกมากที่สุดถึง 70% เมื่อเทียบกับกิจการภาคอื่นๆ สถิติภาคพลังงานของประเทศไทยก็ปล่อยมลพิษในสัดส่วนเท่าๆ กันกับภาคพลังงานของโลก COP27 ต้องการให้รักษาเป้าหมายคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เน้นย้ำต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 43% ภายในปี 2030 ย้ำมติ COP26 เรื่องลดการใช้ถ่านหิน เลิกอุดหนุนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ที่น่าสนใจคือเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน COP27 ให้จัดตั้ง Work Program on Just Transition เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม เดิมพลังงานฟอสซิลเคยเป็นความมั่นคง ไม่ใช่ผู้ร้ายในการพัฒนาโลกยุคหนึ่ง แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นตัวปัญหา ต้องเปลี่ยน จะมีทางเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมอย่างไร มีคนจำนวนมากที่อยู่ในสายการผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิล ไม่ได้มีความผิดอะไร อยู่ๆ ต้องเปลี่ยนมาผลิตรถไฟฟ้า จะต้องทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ไม่ตกงาน ไม่กระทบกับครอบครัว นี่เป็นประเด็นตัวอย่างให้พิจารณาเรื่องความหมายของคำว่า Just Transition
ดร.บัณฑูรกล่าวอีกว่า จริงๆ COP27 มีข้อเรียกร้องที่มากกว่าการลดใช้ถ่านหิน โดยจะให้ลดการใช้เชื้อเพลิงที่เป็นฟอสซิลทั้งหมด แต่ก็ไม่สำเร็จ บริบทการเจรจาฯ มันมีฉากหลังเป็นเรื่องผลกระทบจากสงครามที่เกิดขึ้นหลายส่วนในโลก ทำให้เกิดวิกฤตราคาพลังงานสูงขึ้นมาก ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีรายได้จากการส่งออกพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล กับฉากหลังของโลกที่มีปัญหาเหล่านี้ ทำให้การเจรจาประเด็นนี้เคลื่อนตัวได้ยาก ขณะที่ในภาคการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเราเหลือเวลาแค่ 6 ปี กับ 240 วันที่จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 43 % ต้องเปลี่ยนพลังงานทางเลือกวันนี้เป็นพลังงานทางรอด ทศวรรษนี้เป็นทศวรรษสุดท้าย ถ้าดึงค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กราฟมันดิ่งลงไม่ได้ เราจะไม่รอดจริงๆ ก๊าซเรือนกระจกมีช่วงชีวิตยาวนานในชั้นบรรยากาศ 80 ปี การจะคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส วันนี้เราต้องลดแล้ว และลดอย่างมหาศาล
ดร.บัณฑูรกล่าวต่อว่า ท้ายที่สุดคือเรื่องการเงินในภาคพลังงาน ถ้าเป้าหมายจะไปสู่ Net Zero ในปี 2030 ต้องลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน renewable energy เป็นเงินล้านล้านบาทต่อปี และถ้าจะไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ Low Carbon Economy ก็ต้องลงทุน 4-6 ล้านๆ บาทต่อปี นี่คือเศรษฐกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนผ่านของโลกไปสู่ Low Carbon Economy มีความเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด 6 ระดับ ระดับ Global , Regional, Bilateral ,National, Sub-national และ Business
เวที COP เป็นระดับ Global ที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการ อยากให้ดูระดับอื่นๆ ตัวอย่างที่ดีที่สุดในระดับภูมิภาคก็คือสหภาพยุโรปที่ออก European Green Deal มีมาตรการที่เรียกว่า CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ทำให้เกิดการตื่นตัวในทุกระดับ ส่งผลถึงระดับธุรกิจ business โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าแรกที่ถูกบังคับใช้มาตรการนี้ได้แก่ บริการไฟฟ้า ซีเมนต์ ปุ๋ย อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า และจะขยายให้ครอบคลุมทุกสินค้าในระยะสามปีข้างหน้า เป็นการเร่งให้ประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรปลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง
ดร.บัณฑูรกล่าวว่า ด้านทวิภาคี Bilateral มีตัวอย่างที่เห็นได้ขัดคือ จีนและสหรัฐอเมริกาที่เริ่มมีการพูดคุยกันมาฟื้นสัมพันธ์ใน COP27 ในด้านการเมืองที่ผ่านมาอาจดูเหมือนจีนกับสหรัฐอเมริกามีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง แต่ในเรื่องความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ โลกร้อนโลกรวนนั้น ทั้งสองประเทศมีความร่วมมืออันดีต่อกัน
ทั้งสามระดับข้างต้นส่งผลต่อระดับประเทศ National ตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งผ่านกฎหมายลดอัตราเงินเฟ้อ Inflation Reduction Act โดยมีเป้าหมายในการใช้นโยบายภาษีหลากหลายรูปแบบเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน การขับเคลื่อนในระดับต่างๆ ที่ฉายตัวอย่างมาทั้งหมดข้างต้น ในท้ายสุดก็จะส่งผลถึงระดับธุรกิจ business เมื่อบริษัทใหญ่ๆ ที่เป็นบริษัทแม่ในยุโรปและอเมริกาต้องเปลี่ยนตัวเองให้รับกับกฏเกณฑ์ ข้อบังคับ กฎหมายต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการแก้ปัญหาโลกร้อน การลดก๊าซเรือนกระจก บริษัทลูกที่กระจายอยู่ในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกก็ต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วยโดยปริยาย
การลงทุนที่จะเข้ามาประเทศไทยของบริษัทข้ามชาติ จากนี้สิ่งที่เขาจะเรียกร้องก็คือ พลังงานไฟฟ้าสะอาด 24 ชั๋วโมง 7 วัน และเป็นไฟใหม่ด้วย ไฟที่ไม่ได้มาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ภาคธุรกิจจะเข้ามากดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ถ้าไม่เปลี่ยน เขาก็ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
คุณนารีรัตน์ พันธ์มณี ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ประเทศไทยโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีถ้อยแถลงในเวที COP 27 ว่า ไทยตัดสินใจยกระดับมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นแบบ ambitious goal เลย จากเดิมที่เคยตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25 % ภายในปี 2030 ก็เพิ่มเป้าให้มากขึ้นเป็น 40% โดย 30% จะเป็นการดำเนินการภายในประเทศ และอีก 10% ต้องอาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติ (with international support) เพื่อคุมอุณหภูมิพื้นผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียสหรือถ้าจะให้ดีก็ต้องไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส หากปล่อยให้เกินมากเท่าไหร่ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะทำให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรงและเพิ่มความถี่มากขึ้นเท่านั้น
ไทยเองทุกวันนี้ก็เผชิญผลกระทบเหล่านั้นอยู่ทุกปี ไม่ว่าจะภัยแล้ง น้ำท่วม พายุฝน น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ตัวอย่างน้ำท่วมหนักกรุงเทพมหานครเมื่อปีพ.ศ. 2554 ความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นหลักล้านล้านบาท และหลายสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจจัดให้ไทยเป็นอันดับ 9 ของประเทศที่มีความเสี่ยงและเปราะบางต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คุณนารีรัตน์กล่าวว่า นอกจากนี้ไทยยังประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ให้ได้ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) และ Net Zero GHG Emissions ในปี 2065 (พ.ศ. 2608) จาก COP26 ก่อนจะมา COP27 มีการปรับแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว LTS (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy) กับ NDC (Nationally Determinded Contribution) ให้เพิ่มเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรเข้ามาด้วย โดยโฟกัสไปที่เรื่องของก๊าซมีเทน
ภาคการเกษตรของไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับสองรองจากภาคพลังงานและขนส่ง ส่วนใหญ่ปล่อยออกมาในรูปแบบของก๊าซมีเทน ซึ่งถ้านับตัวการปล่อยที่เทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มีปริมาณการปลดปล่อย 20 กว่าเท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คุณนารีรัตน์กล่าวว่า ในส่วนของเวที COP27 ได้หยิบยกข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์มาคุยกันว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องคุมอุณหภูมิพื้นผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่ง 2 องศาเซลเซียสนั้นก็ยังถือว่ามากไป จริงแล้วต้องไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพราะผลกระทบที่ได้รับเมื่อเทียบกันแล้วมีความรุนแรงมากกว่ากันอย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นก็มาพูดกันถึงเรื่องการลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Mitigation Work Program อันนี้มีประเด็นเยอะเลยโดยเฉพาะเรื่องการใช้พลังงานสะอาดหรือ renewable energy พลังงานทดแทน
ทุกฝ่ายมองว่าต่อไปจะต้องใช้พวกพลังงานทดแทนมากขึ้น และต้องการให้เลิกใช้ถ่านหินในการผลิตพลังงาน ต้องการให้ลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยก็ยังมีการอุดหนุนอยู่ จุดนี้จำเป็นต้องหาข้อความที่จะใช้เป็นจุดยืนร่วมเพื่อให้ทุกประเทศมีที่ยืน
คุณนารีรัตน์กล่าวว่า อีกประเด็นที่ถกเถียงกันมากจนเป็นเหตุให้การประชุมยืดเยื้อออกไปก็คือ เรื่องการตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและความเสียหายอันเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Loss and Damage Fund) ซึ่งท้ายที่สุดก็มีมติให้จัดตั้งกองทุนนี้ เท่ากับเป็นกองทุนใหม่อีกหนึ่งกองทุน ที่ผ่านมากองทุนสำหรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่แล้วก็มี Green Climate Fund , Global Environmental Facility, และ Adaptation Fund
ที่ผ่านมาประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นผู้จัดสรรเงินเข้ากองทุนเหล่านี้ และกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วก็ไม่อยากให้มีการตั้งกองทุนใหม่ อยากให้ใช้กองทุนที่มีอยู่เดิมจัดการจะได้ไม่สร้างภาระเพิ่ม แต่กลุ่มประเทศเล็กๆ ประเทศตามเกาะ ประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าเขาไม่ได้เป็นคนทำให้โลกร้อน เรื่องนี้เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เวลาเกิดความสูญเสีย ความเสียหาย พวกเขากลับได้รับผลกระทบมาก จึงเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวการต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน สมทบเงินเข้ามาจัดตั้งกองทุนใหม่ Loss and Damage Fund
คุณนารีรัตน์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามการออกแบบโครงสร้าง การบริหารจัดการกองทุน ขอบเขต กฏเกณฑ์การใช้เงิน ระบบติดตามตรวจสอบ แหล่งเงินที่จะป้อนเข้ากองทุน ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการการเปลี่ยนผ่าน Transitional Committee ขึ้นมาดำเนินการรายละเอียดเหล่านี้
ส่วนท่าทีของไทยต่อกองทุนนี้ ไทยก็วางตัวเองอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือกลุ่ม G77 ซึ่งเป็นทั้งผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นทั้งผู้ที่จะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ส่วนไทยจะขอเข้าถึงกองทุนนี้ไหม ก็ต้องพิจารณาเอาตามลำดับความสำคัญ ความจำเป็น ประเทศไหนจำเป็นกว่า ก็ต้องให้ประเทศนั้นๆ เข้าถึงกองทุนก่อน ซึ่งประเทศไทยยินดีที่ COP27 พิจารณาจัดตั้ง Loss and Damage Fund ส่วนท่าทีของจีนกับอินเดียก็ยังเกาะไปกับกลุ่ม G77 เช่นกัน และมองว่าประเทศตัวเองยังต้องการการพัฒนาอีก พัฒนาไปพร้อมกับเป้าหมายช่วยโลกลดก๊าซเรือนกระจกเหมือนกับประเทศอื่นๆ
ดร.สิริภา จุลกาญจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันวิจัยพลังงาน (Energy Research Institute, ERI) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ERI กับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (Thailand Development Research Institute, TDRI) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (German International Cooperation, GIZ) ร่วมกันภายใต้โครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Clean, Affordable and Secure Energy for Southeast Asia, CASE) ทำการศึกษาเส้นทางลดคาร์บอนในภาคพลังงานและกำหนดเป้าหมายระยะสั้น กลางยาว พร้อมนโยบายและมาตรการที่ต้องทำเพื่อไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ ในปี 2050 และคาร์บอนเป็นศูนย์ Net Zero ในปี 2065 โดยพิจารณาเปรียบเทียบแผนนโยบายของกระทรวงพลังงาน 5 แผนที่จะพาประเทศไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน, คาร์บอนเป็นพลังงานทางเลือก AEDP ( Alternative Energy Development Plan), แผนอนุรักษ์พลังงาน EEP (Energy Efficiency Plan), แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan), และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
ดร.สิริภากล่าวว่า เมื่อพิจารณาดูแล้วแผนและนโยบายที่มีอยู่นั้นยังไม่เพียงพอ ห่างไกลจากการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 อย่างมากถ้าเดินไปตามแผนที่มีอยู่ อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานเมื่อถึงปี 2050 ก็ยังปลดปล่อยอยู่ในอัตรา 230 ล้านตัน หรือถ้าเปลี่ยนแผนใหม่ใช้เทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำสุดก็ยังต้องมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ที่ 60 ล้านตัน ยังไม่สามารถทำได้สุทธิเป็นกลางทางคาร์บอนได้ อาจต้องมีการใช้ Carbon Sink เข้ามาช่วยในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม 30 ปี ข้างหน้ายังมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย แต่ก็ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มตั้งแต่วันนี้ ต้องทำแผน นโยบายลดคาร์บอนที่เข้มข้นขึ้นในภาคพลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง
ดร.สิริภากล่าวว่า เส้นทางที่จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายได้นั้น จากการศึกษาของ CASE เห็นว่าภาคพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมมีความพร้อมและสามารถเริ่มก่อนได้เลย โดยแนะว่าภาคการผลิตไฟฟ้าควรกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (แสงอาทิตย์และลม)เป็น 84% ภายในปี 2050 จาก 24 % ในปี 2019 นโยบายและมาตรการที่จะนำไปสู่การปฏิบัติก็คือ ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์ทั้ง solar rooftop และ solar farms เน้นลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบการติดตั้งและลดต้นทุนทางการเงินในการติดตั้ง เพิ่มความยืดหยุ่นในระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น ในด้านการทำสัญญาซื้อขายเพื่อปรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากฟอสซิลที่จะเปลี่ยนไป และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นระบบการกักเก็บพลังงาน การบริหารจัดการแบบกระจายศูนย์มาใช้
ดร.สิริภากล่าวว่า นอกจากนี้ควรกำหนดเป้าหมายลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2030 ไม่ควรมีการเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว และในปีดังกล่าวควรเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศเป็น 60% ทยอยปลดถ่านหินออกจากระบบผลิตไฟฟ้าให้หมดไปภายในปี 2050 และใช้ไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้า
ส่วนแผนและนโยบายก็ควรมีการ reskill แรงงานจากระบบเก่าให้ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง มีช่วงเวลาให้เตรียมตัวล่วงหน้า ส่วนในภาคอุตสาหกรรมควรตั้งเป้าหมายลดการใช้น้ำมันผลิตความร้อนโดยใช้ไฟฟ้าแทนมากกว่า 50% ในปี 2037 เพิ่มแรงจูงใจ ลดอุปสรรค ให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสะอาดและประสิทธิภาพสูง เช่น ติดตั้งโซลาร์ ส่งเสริมธุรกิจประหยัดพลังงาน (ESCO) บังคับใช้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน เลิกใช้ถ่านหินผลิตความร้อนเปลี่ยนมาใช้ electric heat pump กับเชื้อเพลิงชีวมวลแทน ภายในปี 2050 ส่งเสริมการใช้ชีวมวลและไฮโดรเจนทดแทนถ่านหินในอุตสาหกรรมที่อาจจะยังไม่มีเทคโนโลยีมาลดในส่วนคาร์บอนได้ วางแผนบริหารจัดการจัดหาพลังงานทดแทนสำหรับภาคส่วนที่ลดคาร์บอนได้ยากก่อน และให้มีการกำหนดราคาคาร์บอน
ดร.สิริภากล่าวว่า ส่วนภาคการขนส่งควรกำหนดเป้าหมายให้ใช้ยานยนต์ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนขนส่งสาธารณะระบบรางและรถส่วนตัว กำหนดให้รถใหม่ที่ออกวางขายต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้า 100% ในปี 2035 ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ซื้อเป็นตัวส่งเสริมให้คนใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และผู้ผลิตก็จะเพิ่มกำลังการผลิต ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่สำหรับผู้ผลิต ส่งเสริมการเปลี่ยนโหมดการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวเป็นรถสาธารณะระบบรางที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ถ้าเปลี่ยนภาคขนส่งมาเป็นระบบไฟฟ้าได้ จะลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศได้ถึง 50%
ถ้าทำได้ตามที่ CASE เสนอทั้งหมดนี้ ไทยสามารถสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ตามที่ประกาศไว้ โดยไม่ทำให้ต้นทุนภาคการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น บรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ ลดความเสี่ยงความผันผวนด้านราคาจากการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล การจ้างงานใหม่มากกว่างานที่หายไปเพิ่มขึ้น 8 ล้านงานจากการเพิ่มโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์และลม จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุน 4.5 ล้านล้านบาท ระหว่างปี 2020-2050 ลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าในอนาคตที่แนวโน้มให้ความสำคัญกับการลดการปลดปล่อยคาร์บอนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ หากหันมองประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเวียดนามก็ตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และอินโดนีเซียก็ตั้งเป้าคาร์บอนเป็นศูนย์ Net Zero ในปี 2060 ถ้าไทยไม่ปรับให้นโยบายเรื่องนี้บรรลุเป้าหมายได้สำเร็จและเป็นจริง เหล่าประเทศเพื่อนบ้านปรับเปลี่ยนได้ก็จะแซงหน้า ภาคการผลิตก็ย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่พร้อมรับมือแก้ไขปัญหาโลกร้อนมากกว่าแน่นอน
คุณวนัน เพิ่มพิบูลย์ ผู้อำนวยการบริหาร Climate Watch ในฐานะภาคประชาสังคมที่เข้าสังเกตการณ์เวที COP27 กล่าวว่า ใน COP27 ยังคงเห็นได้ว่า การพูดคุยประเด็นคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยังไม่ตาย มีประเด็นที่พูดกันถึงเรื่องการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการกักเก็บคาร์บอนเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จากสถานะก๊าซให้กลายเป็นของแข็งหรือของเหลว นำมากักเก็บไว้ตามแหล่งกักเก็บธรรมชาติ เช่น มหาสมุทร ดิน และชั้นหิน ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวและอันตรายมาก ภาคประชาชนจึงเข้าไปมีบทบาท ชุมนุม มีความเคลื่อนไหวต่างๆ ลอบบี้บางประเทศขอให้ยับยั้งเรื่องนี้ เลยโชคดีนิดที่เรื่องนี้ยังไม่ถูกพิจารณารับรอง
คุณวนันกล่าวว่า เรื่องของ Adaptation ใน COP27 พูดเรื่องนี้เยอะกว่า COP อื่นๆ และเรื่อง Global on Adaptation ดีมาก กลุ่มแอฟริกาพูดถึงว่า ทำอย่างไรโลกนี้จะมีเป้าหมาย Adaptation ของโลกซึ่งไม่เคยคุยกันมาก่อนก็มามีความก้าวหน้าใน COP นี้ แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าถึงที่สุด ทางแอฟริกามองว่า ทำอย่างไรโลกนี้จึงจะมี early warning ภายในปี 2025 ทำอยา่งไรประชากรในโลกนี้ทั้งหมดเกินกว่าครึ่งจึงจะมีทักษะล้มแล้วลุกเร็ว Resilience ภายในปี 2030 นี่คือเป้าหมายที่พูดไว้แต่ยังไม่ถูกรับรอง
ในเรื่องของภาคการเงิน ในที่สุดการผลักดันให้มีการจัดตั้ง Loss and Damage Fund ก็สำเร็จ แต่ก็ได้เห็นความพยายามของประเทศที่พัฒนาแล้วที่พยายามจะไม่จ่ายเงินในเรื่อง Mitigation และ Adaptation ไม่มีการพูดถึงคำจำกัดความเรื่อง Climate Finance ในระดับที่ก้าวหน้า ที่ต้องมีคำจำกัดความเรื่องนี้ก็เพื่อจะได้รู้ว่าประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถเข้าถึง Climate finance ได้ในรูปแบบไหน จะเป็นกองทุน หรือเงินกู้ หรือเงินให้เปล่า เป็นเงินก้อนใหม่ไหม ให้ผ่านองค์กรอะไร ประเด็นเหล่านี้ต้องชัดเจน ภาคประชาสังคมอยู่ใต้หลักอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่องการเงินเป็นข้อตกลง สัญญา เป้าหมายอยู่แล้วที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน อเมริกาและยุโรปพยายามจะไม่พูดเรื่องความรับผิดชอบร่วมกันในระดับต่างๆ และพยายามทำให้กลุ่มประเทศ G77 ซึ่งรวมจีนและอินเดียอยู่ด้วยแตกคอกัน
ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กล่าวว่า COP 27 เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นว่ามีการพูดถึงเรื่อง Adaptation เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะสิบกว่าปีก่อนเวที COP มุ่งพูดถึงแต่เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก เรื่อง Adaptation กลายเป็นสิ่งที่มองว่าก็แก้ปัญหากันเองภายในประเทศ แต่ละประเทศไปหาทางดูแลจัดการกันเอาเอง
สำหรับด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ในเป้าหมายของไทยที่จะทำให้ได้ 40% ในปี 2030 อบก. ก็จะเข้าไปมีบทบาทส่งเสริม ชักชวน ทั้งภาคเอกชนรายใหญ่ รายย่อย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล ชุมชน ป่าชุมชน ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันทำเรื่องนี้ให้บรรลุเป้า
เรื่องคาร์บอนเครดิตก็จะเป็นอุบายหนึ่งที่จะทำให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม เห็นเป้าหมาย เห็นตัวเลขจากการลงมือทำชัดเจนขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ที่ทำโครงการคาร์บอนเครดิตมา ได้รับความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมโครงการแล้ว 300 กว่าโครงการ ทั้งภาคเอกชน เทศบาล 40-50 เทศบาล วัดก็มี ตัวอย่างเช่น วัดหนองจระเข้ จ.ระยอง ก็ร่วมโครงการด้วยการปลูกป่า นำผลการดำเนินการมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองคาร์บอนเครดิต ฟาร์มสุกร จ.ชัยนาท ทำโครงการเปลี่ยนมูลสุกรเป็นก๊าซชีวภาพ ตอบสนองสังคมคาร์บอนต่ำ
ภาคส่วนต่างๆช่วยกันคิดช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ ไปๆ มาๆ 300 กว่าโครงการนี้ก็ทำให้ประเทศไทยลดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าไปได้ราวสิบล้านตันที่ประเมินมา ทั้งนี้ อย่าไปกังวลว่าใครจะใช้เรื่องคาร์บอนเครดิตมาเป็นกิจกรรมฟอกเขียว การจะได้รับการพิจารณารับรองเครดิตมันต้องมีการลงมือทำจริงเห็นผล เราก็ถือว่าผลได้เกิดแล้ว ประโยชน์ได้เกิดแล้ว ส่วนจะนำผลนั้นไปต่อยอดอะไรก็แล้วแต่
คาร์บอนเครดิตสามารถซื้อขายถ่ายโอนได้ แต่มันก็ไม่ได้มีราคามากมายถึงขนาดที่จะทำให้ใครมาลงทุนทำกิจกรรมนี้เพื่อการค้า หากำไร ลดหย่อนภาษีก็ไม่ได้มากอะไร ฉะนั้น อย่าไปกังวล ตอนนี้โลกเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ทุกคนบนโลกก็เหมือนล่องไปในเรือลำเดียวกัน เรือรั่วก็ต้องช่วยกันวิดน้ำ อุดรูรั่ว ใครตัวใหญ่กำลังเยอะก็ช่วยมาก ตัวเล็กก็ช่วยตามกำลัง ดร.ณัฐริกา กล่าว
สรุปประเด็นเวทีเสวนาฯ โดย สิริกุล บุนนาค Freelance journalist และอดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์สายการศึกษาและรายงานพิเศษ
Indie • in-depth online news agency
to “bridge the gap” and “connect the dots” with critical and constructive minds on development and environmental policies in Thailand and the Mekong region; to deliver meaningful messages and create the big picture critical to public understanding and decision-making, thus truly being the public’s critical voice