Extreme weather conditions are becoming more common due to the rise in global temperatures and climate change, which affect climate and weather patterns worldwide.
In 2022, Thailand experienced catastrophic flooding due to Noru, a typhoon that quickly transformed into a super typhoon that surprised climate experts. The emergence of Noru has raised questions about climate-related policies and disaster preparedness for extreme weather conditions worldwide and here in Thailand
The disaster from Super Typhoon Noru was severe, causing extensive damage to people’s lives and property. This storm is considered to be the most intense typhoon in decades (Super Typhoon). Many climate experts believe climate change is the important factor that causes increasingly severe storms and changing weather patterns.
Climate and disaster management experts discussed the rising challenge and related policies at the Dialogue Forum, “Weather Extremes?” during the emergence of Super Typhoon Noru, which significantly affected Thailand and its climate and disaster preparedness policies.
Assoc. Prof. Dr. Seree Supratid, a former director of the Climate Change and Disaster Center at Rangsit University and now an advisor to FutureTales Lab by MQDC, said that based on available data on severe storms in the past to the present, there has been an upward trend in the severity of violence. It is believed that these storms will cause more risks and damage and the warming climate will become a global threat.
According to Assoc. Prof. Dr. Seree, leaders in various countries give importance to the issue and there has been discussion to find a solution. But in the past, disaster preparedness plans took too long to be formulated, and this may not keep up with what is currently happening because the important thing as well is the short-term solutions.
Assoc. Prof. Dr. Seree predicted storms worldwide will become more violent, from typhoons to super typhoons or they might be more serious than that, causing various disasters such as floods or droughts that will occur in many areas of the world. In Southeast Asia, many storms occurring in 2022 were more severe than storms that have occurred in the past, Assoc. Prof. Dr. Seree noted, saying these conditions are “weather extremes”
In the case of Thailand, Assoc. Prof. Dr. Seree said that the country will unavoidably face severe droughts and floods. The number of days with the highest volume of rainfall will increase by 14%, and the number of rainfall days will be up to 55-80%. A circle of giant floods will be shortened from 50 years to 10 years, meaning that the historical flooding of 2011 will happen again within a decade.
Thailand is on the list of the world’s top ten countries under an evaluation of the Global Climate Risk Index. It is found that the country’s temperature already increased by 0.4%, shortening the period of the cold season. It is estimated that the average temperature in the cold season increased 1.4 degrees Celsius.
In Bangkok, a volume of rainfall is associated with warming temperatures. The highest rainfall volume has increased to 2,000 millimetres from 900 millimetres as registered in the past. According to the Thai Meteorological Department, it found a smaller number of storms hitting the country, but their power is intensified. Noru Storm is a good case study for storm intensification, causing heavy flooding in many areas. Based on the model, it is believed that within 20 years the problem of severe droughts and floods will be further expanded almost entire the country.
It could be said that Thailand has already experienced the immense result of climate change, evidenced by the mega-flood in 2011, resulting in a 1.4 trillion baht economic loss. The water management plan was set up in a bid to minimize flood and drought impacts, based on the scenario of the historical flood in 2011.
Policy recommendations
Assoc. Prof. Dr. Seree suggested that Thailand should prepare more after having experienced floods, overflows, and severe droughts. Therefore, there should be a plan and priority placed in order ranging from warning, rescue, and rehabilitation for events that will occur in the future.
Meanwhile, the experts raised a question about the disaster preparedness plan, saying that it has put strong weight on investing in infrastructure such as flooding-resisting walls and reservoirs, instead of applying nature-based solutions. Many reservoir projects have invaded into pristine forest zones. The government has projected to increase forest area by 40%, compared with the current figure of 31% of the entire area. The country has lost around 0.2% of its forest zone every year.
The 300 billion-baht water management plan has not yet included the controversial project to divert water from the Yuam River to the Bhumibol Dam in Tak province, which is believed to fill 1.9 billion cubic metres a year. The 70-billion baht project has raised strong opposition from civil society due to a concern about forest loss, and importantly a potential break-even point. They called on the government to design a water management plan based on resilience and keep the natural balance, adding that the current plan might not be able to protect the loss when the climate change impact is widespread, rapid, and intensifying.
Meanwhile, the Office of the National Water Resources, which is the country’s focal point of water management, explained that the national strategy of water management is under the process of reviewing under frameworks of Sustainable Development Goals, the Thirteenth Plan of National Economic and Social Development, and Sendai Framework for Disaster Risk Reduction.
Importantly, it has put more focus on increasing the capacity of water storage in water sources such as freshwater swamp forests and more. It has set up a water map to preserve and protect the water floor from human intrusion. The plan will make a great balance between infrastructure and nature-based solutions for improving the efficiency of water management.
Moreover, the accuracy of data analysis is very important to deal with the problem, and advanced technology and closer cooperation from all stakeholders are the keywords for enhancing water management, including international cooperation.
Additional suggestions are also made, including new law establishment to deal with climate change and a clear job description for regulators and implementation units for better efficiency. Importantly, it needs to promote science-based knowledge and innovation in society and upskill the staff so that they can do the job related to climate change management in the future. An improvement of the early warning system is very important to limit the loss and damage to people, which information must be easy to understand.
FB LIVE Recording: Dialogue Forum 2 I Year 3: Weather Extremes?
สภาพอากาศแปรปรวนเริ่มกลายเป็น “สภาวะอากาศสุดขั้ว” มากขึ้นทุกขณะ เมื่ออุณหภูมิของโลกยังคงเพิ่มขึ้นและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่สร้างผลกระทบต่อรูปแบบของภูมิอากาศและสภาพอากาศตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
ในปี 2022 ประเทศไทยประสบภัยพิบัติน้ำท่วมอันเนื่องมาจากไต้ฝุ่นที่ผันตัวเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นในเวลาอันรวดเร็วจนสร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศทั่วโลก การปรากฏตัวของพายุโนรู นำมาซึ่งคำถามถึงนโยบายและการเตรียมความพร้อมรับมือสภาวะอากาศสุดขั้วที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในเวลานี้
ภัยพิบัติจากพายุโนรูมีความรุนแรง สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดพายุดังกล่าวถือว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงสูงในรอบหลายสิบปี (Super Typhoon) หลายฝ่ายเชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้พายุฝนมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน และปัจจัยดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศแบบสุดขั้วรุนแรงมากกว่าเดิม
ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศและการจัดการภัยพิบัติได้ร่วมพูดคุยถึงความท้าทายและเสนอแนวทางรับมือกับความท้าทาย พร้อมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายในเวทีเสวนา “สภาวะอากาศสุดขั้ว?” ในช่วงเวลาการเกิดขึ้นของพายุโนรูที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและนโยบายในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะอากาศสุดขั้วนี้อย่างมีนัยยะ
รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และที่ปรึกษา FutureTales Lab by MQDC กล่าวว่า จากการเปรียบข้อมูลการเกิดพายุรุนแรงในอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงในเชิงความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น ผลจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นจะกลายเป็นภัยคุกคามไปทั่วโลก แม้ว่าผู้นำของประเทศต่างๆ จะให้ความสำคัญ มีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไข แต่ที่ผ่านมาก็พบว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่วางเป็นเป้าหมายยาวนานเกินไป ซึ่งอาจจะไม่ทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะสิ่งสำคัญคือในระยะสั้น โลกจะมีวิธีการรับมืออย่างไรเพื่อบรรเทาความเดือร้อนที่จะเกิดขึ้นในขณะนี้ รศ. ดร.เสรี กล่าว
รศ. ดร.เสรี เชื่อว่าพายุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงขึ้น จากไต้ฝุ่นเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น หรืออาจจะรุนแรงกว่านั้น รวมไปถึงภัยพิบัติต่างๆ เช่น อุทกภัย หรือภัยแล้ง ที่จะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก ภาพรวมของพายุฝนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้หลายลูกที่พบในปี 2022 มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าพายุที่เคยเกิดขึ้นในอดีต โดย รศ. ดร.เสรี อธิบายถึงสภาพที่เกิดขึ้นนี้ว่า “อากาศสุดขั้ว”
ในประเทศไทยเองก็สังเกตเห็นได้แล้วว่ามีความเปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องของอุณภูมิเฉลี่ยรายวันที่สูงขึ้นและการเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วม ฝนแล้งที่จะต้องมีแนวทางการปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่กับสภาพความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งในหลายประเทศได้เตรียมการรับมือกับสิ่งเหล่านี้แล้วไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ในขณะที่ในประเทศไทยก็ควรเตรียมการให้มากกว่านี้หลังจากมีประสบการณ์น้ำท่วม น้ำหลาก หรือภัยแล้งรุนแรงมาแล้ว ดังนั้นควรมีแผนเป็นไปตามลำดับคือ เตือนภัย ช่วยเหลือ เยียวยา สำหรับเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ด้านนายอรรถพงศ์ ฉันทาณุมัติ ผู้อํานวยการกองนโยบายและแผนแม่บท สํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า หน่วยงานรัฐดูแลทรัพยากรน้ำของประเทศทั้งระบบตาม พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยนำข้อมูลทุกอย่างมาศึกษาและทำการวิจัยคาดการณ์เชิงวิชาการเพื่อหาแนวทางบริหารจัดการน้ำของประเทศ ทั้งกรณีของน้ำมากและน้ำแล้ง แล้วจัดทำข้อเสนอในเชิงนโยบายและทางออกให้กับรัฐในการดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้การดำเนินการของภาครัฐจะทำงานในลักษณะของการเหลียวหลังแลหน้า คือการมองบริบทต่างๆ ของประเทศว่าได้ดำเนินการใดไปแล้วบ้าง และฟื้นฟูสิ่งใด ใช้สิ่งใดที่สร้างไว้แล้วมาก่อนได้บ้าง เช่น เขื่อนต่างๆ เพื่อลดการสร้างใหม่ ขณะเดียวกันก็ต้องมองไปข้างหน้าว่า จะก้าวข้ามอนาคตเพื่อจะข้าม disruption ไปได้อย่างไร โดยมองบริบทตั้งแต่ระดับโลกลงมาเพื่อที่จะพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนา และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ครอบคลุมทุกด้านของปัญหา ไม่ว่าจะเป็ ปัญหาความยากจน สุขภาพ ทรัพยากรน้ำ สัตว์ และป่า โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปรับปรุงแผนแม่บทน้ำ
ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ลดความสูญเสียต่างๆ และเพิ่มประสิทธิภาพกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ การเพิ่มเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้ และอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกันภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดคือวิธีการที่ประทศไทยจะเดินหน้าในอนาคตในเรื่องของแผนน้ำ
แนวทางรับมือและข้อเสนอเชิงนโยบาย
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA กล่าวว่า นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์ climate change จำเป็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป 2 ทางคือ การปฏิบัติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และยุทธศาสตร์และนโยบายการระยะยาว ในทุกมิติที่ climate change เกี่ยวโยงไปถึง เช่น ผลการผลิต และเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยเห็นว่า หน่วยงานควรจะเข้ามาดำเนินการได้แก่ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สภาพัฒน์ฯ) เพราะเป็นหน่วยงานที่วางยุทธศาสตร์ของประเทศทั้งสําหรับภาครัฐและภาคเอกชน มีกฎหมายกําหนดไว้ชัดเจน ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่เพิ่มเติม
โดยการทำงานนี้จะมีหน่วยงานหลักของแต่ละเซ็กเตอร์ทำงานเฉพาะส่วนภายใต้การทำงานในระดับยุทธศาสตร์ สภาพัฒน์ฯ แยกบทบาทของหน่วยปฏิบัติกับหน่วยที่จะมาทําในเรื่องเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายให้ชัดเจน เพราะปัจจุบันทำหลายอย่างปะปนกันอยู่ทำให้เกิดปัญหาในระบบการทำงาน
ดร.อานนท์กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือควรจะมีการวิจัยมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสร้างคนที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้เท่ากับด้านนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันไทยยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้ ผลักดันให้คนที่ดีพอจะมีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์มีโอกาสทํางานในหน่วยงานที่ทำด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับภูมิอากาศในอนาคต
ขณะที่ ผศ. ดร.สิตางค์ พิลัยหล้า ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นว่า ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งคือการลดลงของพื้นที่ป่า สวนทางกับการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน มีเมืองหนาแน่นขึ้น มีการสร้างเขื่อนเพื่อกักน้ำทำให้ป่าถูกทำลาย นโยบายรัฐเกี่ยวกับการสนับสนุนแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลกย้อนแย้งกับแผนดำเนินการจริง จึงต้องพิสูจน์ถึงความจริงจังและจริงใจของภาครัฐ ในสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับ สภาพ climate change
พร้อมระบุว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐ แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน รัฐมีบทบาทที่จะต้องป้องกันดูแลให้ประชาชนอยู่ได้อย่างอย่างมีความสุข มีความเดือดร้อนน้อยที่สุด ส่วนประชาชนต้องปรับตัวเพื่ออยู่ให้ได้ในสภาพปัจจุบันเพื่อให้เกิดทุกข์ให้น้อยที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติ
ทั้งนี้หลายฝ่ายยังกล่าวถึงการทำงานของสื่อมวลชน โดยเห็นว่าการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติจะต้องมีความชัดเจน แบ่งแยกอย่างถูกต้องว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริง สถานการณ์จริง หรือเป็นแค่ความเห็นส่วนบุคคล บทวิเคราะห์ คาดการณ์ ขณะที่ผู้ที่ให้ข้อมูลเองก็ต้องระมัดระวังใช้การให้ข้อมูลกับสื่อ สื่อมวลชนเองก็ต้องใช้วิจารณญาน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่นหรือปัญหาข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจริยธรรมธรรมาภิบาลและความตระหนักทั้งของสื่อและผู้ให้ข้อมูล ในการสื่อสารต่างๆ ออกไปต้องมีความระมัดระวัง ควรตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านไม่ไม่ตกไปเป็นเครื่องมือหรืออะไรก็ตามของบางกลุ่มบางคน
นอกจากนี้ ยังมีแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการรับมือภัยพิบัติที่มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ช่องทางการให้ข้อมูลที่รวดเร็วต่อประชาชน โดยเฉพาะระบบเตือนภัยที่เห็นว่าควรนำเทคโนโลยีมาใช้น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพราะการรับข้อมูลจากสื่อมวลชน บางครั้งก็อาจจะทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกเกินไป
โดยปัจจุบันหลายจังหวัดได้เริ่มทำเรื่องของการให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ในระดับจังหวัดเพื่อสร้างภูมิต้านทานการเตือนภัยระดับจังหวัดแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรมีการปรับปรุงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวมไปถึงปัญหาอื่นๆ เช่นการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนเพื่อให้ปรับตัวต่อธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ทุกคนมีภูมิต้านทาน และสามารถใช้ชีวิตอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย
Indie • in-depth online news agency
to “bridge the gap” and “connect the dots” with critical and constructive minds on development and environmental policies in Thailand and the Mekong region; to deliver meaningful messages and create the big picture critical to public understanding and decision-making, thus truly being the public’s critical voice