In times of war, energy often becomes synonymous with security, and as a result, policy decision-makers are forced to reconsider energy planning to the point that they could be pressured to revert to environmentally unfriendly energy policies for the sake of their countries’ stability
In the state of war that has occurred in the past few years, especially the Russo-Ukrainian war, countries leading the energy transition, especially in Europe, are under pressure from the situation. As a result, efforts to transition from energy to sustainable and environmentally friendly energy are once again being challenged.
Thai foreign affairs and energy experts analyzed the impact of war on the country’s and the world’s energy policy through intense war situations such as the Russia-Ukraine War in the forum “War Fires, Crisis and Thai Energy Security” when the war became intensified.
A crisis of war between Russia and Ukraine has brought an energy crisis to the global community, and the situation was even worse among the European countries when the price of natural gas was unprecedentedly increased, causing immense damage to people’s ability to access justice in energy price.
In Thailand, the context of expensive energy prices is totally different. Civil society has put the blame on unfair energy prices caused by the distorted structure of energy policy that creates a huge fortune for giant energy companies. The issue of energy reform is raised to create justice and power security in the country. Foreign affairs and energy experts discussed the challenge at the Dialogue Forum, “Thailand’s Energy Crisis and Security in Times of War” when the war showed itself up and was increasingly full-blown.
According to Assoc.Prof.Dr. Jittipat Poonkham of the Political Science Faculty’s International Relations at Thammasart University, the world’s energy crisis in crude oil and natural gas production and trade was activated by the Russia-Ukraine war that led the EU and its allies to boycott Russia. The war caused a suspension of the Nord Stream 2 project, which is a transboundary natural gas transport through a main pipeline from Russia to Germany running through the Baltic Sea, making the energy crisis in the EU get worse.
Importantly, the energy crisis in the EU encouraged them to move away from the global commitment to decarbonization by switching to carbon-based fuels with a reason of regional energy stability. Meanwhile, energy diversification is not a kind of easy-to-do option, making it get stuck into a high proportion of natural gas consumption.
Thailand’s energy policy and security
From the viewpoint of other independent experts including Mr. Witoon Permpongsacharoen, Director of the Mekong Energy and Ecology Network (MEE Net), they considered that the factor of Russia-Ukraine war had caused a slight impact in the country when compared with domestic factors, of which a root of unfair energy price is influenced by the energy structure, especially the electricity power.
It is designed to create a risky burden to consumers through a mechanism of Ft, charged by changing fuel costs. Besides unfixed Ft costs, consumers have to take responsibility for the excessive volume of electricity production caused by overloaded power plant constructions and operations.
Currently, excessive volumes of electricity reached 55%, of which such burden is translated into a monthly electricity bill. Based on the electricity production, it is found that 10,000 megawatts per year are produced by mega energy firms, followed by 9,000 megawatts from small-scaled companies, 5,000 megawatts from gas imports, and only 1,000 megawatts from the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT).
Additionally, a method to calculate Ft is unfair and impractical. Regarding the issue of natural gas resources, 64% of the total natural gas volume originates from the Gulf of Thailand, or 2.883 billion cubic feet per day, 14% from Myanmar, and 22% from liquid natural gas imported from overseas. 59% of the volume will be diversified to electricity generation, and 20% to a process of gas separation with 40% setting for the petrochemical industry and the rest to cooking gas, according to Mr. Witoon.
To reduce electricity costs, the domestic natural gas from the Gulf of Thailand should be the country’s major fuel source of electricity production, Mr. Witoon noted. Mr. Witoon further noted that the common discourse about this issue is that natural gas from the Gulf of Thailand has not been a choice being allocated for electricity generation because it could add more value in the stage of petrochemical production. But 60% of plastic- the petrochemical’s by-product- is shipped to the Chinese market, which means Thai people don’t get a direct benefit from its own natural resource.
Mr. Witoon further said that the government had implemented a policy of adder to draw interest from investors, which has added additional costs into normal electricity prices for 25 years based on a different type of renewable power plant, taking around one billion baht a year for expenditure. He called for the government’s action to review the system of enhancing single buyers to transform into power sustainability.
Policy recommendations
Representatives from the business sector expressed a point of view that energy has connected with all sectors and it is the right time for change under the framework of digitalization, decarbonization, decentralization and de-regulation. They added that the country would not be able to increase its competency within the current structure. The world’s commitment to green technology has finally become a compulsory regulation for carbon reduction, especially the use of alternative energy consumption.
They further suggested that the government should create a carbon footprint database, which is required by international markets that need to ensure that the manufacturing produces less carbon emissions under the regulation. All stakeholders should work together to design an appropriate policy for energy security, paving the way for trade efficiency in the global market.
The experts at the forum including Ms. Thanyaporn Surapukdee, a project leader at Toward Just Energy Transition in Thailand suggested that to ease the burden on consumers, the use of a formula for calculating electricity costs using gas from the Gulf of Thailand should be considered. Electricity prices should not be tied to the Ft value, which arises from many factors.
In the long run, the problem of oversupplied power plants must be solved. The government should not sign a contract for a power plant or even a new dam to add to the system. Importantly, it should adjust and improve the structure of electricity prices by putting more focus on renewable energy.
Good governance and decentralisation should be translated into action, especially in the energy sector and should have transparent and fair management to the public, they recommended. All parties must “reimagine” the issue of energy security as it is an important foundation for the government to plan or formulate original policy.
The governments and people do not just think that they should have energy or electricity to use at a cheap price. The price may be slightly more expensive, but should be the energy from sustainable sources, they suggested.
FB LIVE RECORDING: Dialogue Forum 1 I Year 3: Thailand’s Energy Crisis and Security in Times of War
ในภาวะสงคราม พลังงานมักกลายมาเป็นเรื่องเดียวกับความมั่งคง และส่งผลให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายต้องทบทวนการวางแผนด้านพลังงาน และบ่อยครั้งที่ถูกกดดันให้กลับไปยึดนโยบายด้านพลังงานที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความมั่นคงของประเทศ
ในภาวะสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ประเทศที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปต่างถูกกดดันจากสถานการณ์ จนทำให้ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถูกท้าทายอีกครั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของไทยได้วิเคราะห์ผลกระทบของสงครามต่อนโยบายด้านพลังงานของประเทศและของโลกผ่านสถานการณ์ของสงครามที่เข้มข้นอย่างสงครามรัสเซีย-ยูเครนในเวทีเสวนา “ไฟสงคราม วิกฤต และความมั่นคงพลังงานไทย” ในช่วงที่สงครามรุงแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2022
รศ. ดร.จิตติภัทร พูนขำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการระหว่างประเทศและผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปกติในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลสู่ช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะในยุโรป จะถือว่าเป็นช่วงที่ต้องใช้พลังงานมาก หลายประเทศในยุโรปใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติที่นำเข้ามาจากประเทศรัสเซีย แต่หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยุโรปตะวันออกหลายประเทศคว่ำบาตรประเทศรัสเซียที่เป็นแหล่งพลังงานหลัก และกลายเป็นตัวเร่งกระบวนการของวิกฤตพลังงานของของยุโรปที่ส่งผลถึงวิกฤติของโลกให้ทวีความรุนแรงขึ้น ท่อก๊าซ Nord Stream 2 ที่วางจากรัสเซียผ่านทะเลบอลติกไปยังยุโรป มีแผนจะเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2022 แต่เนื่องจากเกิดสงคราม จึงทำให้ยุโรปและเยอรมนีประกาศชะลอหรือยุติการทําข้อตกลงในเรื่องนี้กับรัสเซีย
นอกจากนี้ กรอบวิธีคิดของ COP26 ที่ต้องการให้โลกก้าวไปสู่เรื่องของ decarbonisation ด้วยการลดการใช้คาร์บอน แต่การเกิดวิกฤติพลังงานในภาวะสงคราม ทำให้หลายประเทศในยุโรปกลับมายึดนโยบายด้านพลังงานเดิมๆ อีก กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ซ้อนกันอยู่ โดยจะเห็นได้จากบทบาทของรัฐบาลต่างๆ เช่น เยอรมนีที่เห็นว่าต้องกลับไปใช้เรื่องของคาร์บอนหรือพลังงานเหล่านี้มากขึ้น
การดำเนินนโยบายร่วมกันของยุโรปแบบ common energy policy จะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งยุโรปไม่เคยมีนโยบายแบบนี้อย่างชัดเจนตายตัวมาก่อน เพื่อจะนําไปสู่การสร้างท่อก๊าซ เพราะเคยมีการพูดคุยเมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมา ยุโรปจะสร้างท่อจากยุโรปทางตอนใต้ตั้งแต่ตุรกีขึ้นมาสู่ยุโรปทางตอนกลางแล้วไปยังยุโรปเหนือ จึงเป็นความท้าทายว่าจะสามารถทำได้หรือไม่
สิ่งที่เห็นคือ รัสเซียใช้เครื่องมือที่มีเข้าไปจัดการ ไม่ว่าจะเป็น hard หรือ soft power การใช้ counter sanction ตอบโต้ตะวันตก การใช้การทูตการเมืองในหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นก็คือถ้ารัฐไหนเป็นมิตรกับรัสเซีย ก็จะได้ราคาพลังราคาถูก หรือการที่รัสเซียใช้เครื่องมือแบบนี้ในการที่ไปต่อรองในการใช้เงินรูเบิลเพื่อซื้อขายพลังงาน เป็นผลมาจากการที่รัสเซียนั้นถูกแบนออกมาจากระบบสวีฟ รวมทั้งลดการใช้เงินดอลลาร์ลง
โลกจึงเริ่มแบ่งออกเป็นสองขั้วคือ สหรัฐ และขั้วจีนและรัสเซีย นัยยะของวิกฤตที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจโลกมีมากมาย เช่น พลังงาน supply น้อยลงโดยรัสเซียพยายามที่จะคุมการผลิตในการเจรจาต่อรองกับประเทศต่างๆ, เรื่อง pipe line politics เพราะรัสเซียเป็นประเทศที่ไม่ค่อยนิยมส่งก๊าซเหลว LNG แต่ส่งผ่านท่อ มายังเอเชีย ยุโรป
รัสเซียหันมาส่งออกให้เอเชียมากขึ้นและพยายามที่จะใช้กลไกต่อรองกับยุโรป เพราะยุโรปไม่สามารถหาแหล่งพลังงานได้ในระยะสั้น การเจรจาต่อรองกับรัสเซียนำมาซึ่งความกระอักกระอ่วนของยุโรปเพราะเรื่องพลังงาน นอกจากนี้ ประเด็นพลังงานได้นําไปสู่เรื่องวิกฤติด้านเกษตรกรรมที่รัสเซียและยูเครนมีอยู่ ทำให้กลายเป็นปัญหาเรื่อง supply chains ในระดับโลก รวมถึงเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ
แม้รัสเซียจะถูกคว่ำบาตร แต่ก็เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลงยาก เพราะรัสเซียมีอำนาจต่อรองสูงทั้งเรื่องของพลังงาน ความยืดหยุ่นต่อการถูกคว่ำ สามารถพึ่งพาตัวเองได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐเซียในระยะสั้น
ผลกระทบต่อนโยบายและความมั่นคงของพลังงานไทย
คุณธัญญาภรณ์ สุรภักดี หัวหน้าโครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย กล่าวว่า จริงๆ สงครามอาจจะมาซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่แล้ว ดูจากพลังงานฟอสซิลที่ใช้แล้วหมดไป supply เริ่มน้อยลง แต่ว่าความต้องการทางตลาดยังมีอยู่ต่อให้ไม่มีสงครามก็ตาม ขณะที่ก๊าซธรรมชาติหรือ LNG มีราคาผันผวนอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดสงครามทำให้มีความผันผวนมากขึ้น โดยเฉพาะก๊าซนําเข้า มีความผันผวนสูงกว่าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและพม่า นั่นคือราคาเฉลี่ยแล้วเป็นต้นทุนพลังงาน ปัญหาสําคัญของราคาพลังงานอยู่ที่โครงสร้าง โดยโครงสร้างค่าไฟ ณ ปัจจุบันน ถูกออกแบบให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าใช้จ่ายความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งหมดผ่านค่า Ft ที่เพิ่มสูงขึ้นเพิ่ม โดยเฉพาะในกรณีที่ต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาที่เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคก็ต้องรับส่วนนี้
แต่จริงๆ แล้ว มีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า ค่าไฟฐานที่ผู้บริโภคต้องแบกรับ นั่นคือนอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนเชื้อเพลิงที่ไม่แน่นอนแล้ว ที่เป็นปัญหาเรื่องค่าไฟแพงเพราะเรื่องของโรงไฟฟ้าล้น โดยผู้บริโภคจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าผ่านค่าไฟด้วย เพียงแต่ไม่ได้ผ่านค่า Ft และปัญหานี้ผ่านมา 21-22 ปีแล้ว เลยเกิดมีคำถามว่าเรามีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นมานานแล้วหรือไม่
โดยทั่วไป มาตรฐานในการคำนวนคือจะดูเรื่องความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละปี นำไปบวกกับค่าสํารอง 15% แต่ตัวเลขล่าสุดพบว่ากําลังการผลิตไฟฟ้าของไทยมีอยู่เกินจากความต้องการสูงสุดไปถึง 55% และนี่คือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องแบกรับผ่านบิลค่าไฟของแต่ละบ้านที่ทุกคนต้องจ่ายแต่ละเดือน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้ผลิตหรือเอกชนรายใหญ่มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเป็น 1 ใน 3 ของกําลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ ปีล่าสุดคืออยู่ที่ 10,000-15,000 เมกะวัตต์ รองลงมาก็จะเป็นรายเล็กหรือที่เราเรียกว่า SPP จากเดิมที่อยู่ที่ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์ ขยับมาเป็น 9,000 เมกะวัตต์ ส่วนสุดท้ายก็คือที่นําเข้ามาเดิมอยู่ที่ 340 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 5,000 เมกะวัตต์ ในขณะที่ EGAT ตัวแทนของภาครัฐในการผลิตไฟฟ้าแทบไม่โตเลย 20 ปีผ่านไปขยับขึ้นมาแค่ประมาณ 1,000 เมกะวัตต์
ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 90% คือเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซ ตามด้วย กฟผ. มีประมาณ 60% ส่วนที่ 3 เป็นของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กประมาณมี 65% ที่ใช้แก๊ส จึงเป็นคำถามว่า เป็นความมั่นคงทางพลังงานของใครกันแน่ เพราะผู้บริโภคแบกกันหลังแอ่น ตกลงวิกฤติพลังงานเกิดจากเพราะสงครามเพียงอย่างเดียวหรือไม่
คุณวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ปัญหาเรื่องพลังงานของไทยไม่ได้เกี่ยวข้องกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนหรือมีความเกี่ยวข้องกันน้อยมาก เพราะหากแก้ปัญหาด้านพลังงานได้จริง จะหลีกเลี่ยงการขึ้นค่า Ft ได้โดยที่ไม่ขยับไปตามตลาดโลก
ก๊าซของประเทศไทย แหล่งหลักมาจากอ่าวไทยประมาณ 64 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซ หรือประมาณ 2,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากแหล่ง JDA หรือเขตร่วมกับมาเลย์เซีย และที่ซื้อมาจากพม่าประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่สามก็คือซื้อก๊าซเหลวประมาณ 22% ประเด็นสำคัญคือ ราคาไม่เท่ากัน โดยก๊าซที่ถูกที่สุดมาจากอ่าวไทย โดยก๊าซเหล่านี้ประมาณ 59% ใช้ผลิตไฟฟ้าหรือประมาณ 2,000 ร้อยล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ประมาณ 20% เอาไปเข้าโรงแยกก๊าซ โดย 40% จากโรงแยกก๊าซนำไปทำปิโตรเคมี ที่เหลือส่วนหนึ่งทำเป็นก๊าซหุงต้ม
จริงๆ แล้ว ไทยได้ก๊าซจากอ่าวไทยมากกว่าปริมาณที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ดังนั้น ถ้าอยากให้ไฟฟ้ามั่นคงจึงควรนำก๊าซอ่าวไทยมาผลิตไฟฟ้าเพราะมีราคาถูก ส่วนก๊าซจากพม่าราคาสูงกว่าอ่าวไทย ส่วนก๊าซเหลว LNG จะมีราคาสูงในช่วงที่เกิดสงครามเพราะเป็นไปตามราคาตลาดโลก ดังนั้น ก๊าซที่ผลิตในประเทศเองจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับตลาดโลก ลักษณะเดียวกับราคาที่ผลิตได้เอง
คำถามที่ว่าทําไมไม่นำก๊าซจากอ่าวไทยมาผลิตไฟฟ้า ก็มีการอธิบายว่า เนื่องจากว่าก๊าซนี้เป็นพื้นฐานของการผลิตที่สามารถไปเพิ่มมูลค่าเพิ่มได้นั่นคือ ปิโตรเคมี แต่ถ้านำมาผลิตไฟฟ้าเหมือนนำมาเผา แต่อยากจะชี้ว่า ก๊าซอ่าวไทยนำไปแยกก๊าซแล้วไปใช้ปิโตรเคมี 40% บางส่วนก็จะเป็นก๊าซหุงต้ม LPG แอลพีจี ที่บอกว่ามันเป็นมูลค่าเพิ่ม แต่ในความเป็นจริงผู้ผลิตปิโตรเคมีส่งเมล็ดพลาสติก 60% ไปให้จีน ดังนั้น การเพิ่มมูลค่าไม่ใช่ของคนไทย เพราะฉะนั้น ถ้าอยากจะช่วยประเทศไทยจริงๆ ควรจะนำก๊าซราคาถูกมาผลิตไฟฟ้า แล้วก็จะทําให้ค่าไฟถูกลง
อีกส่วนที่สําคัญก็คือ ในระบบไฟฟ้าซึ่งมีการพลังผลิตปัจจุบันรวมกันถึง 50,000 เมกะวัตต์ แต่ใช้จริงประมาณ 30,000 กว่าเมกกะวัตต์ นั่นคือเรามีกําลังผลิตไฟฟ้าสํารองถึงประมาณเกือบ 20,000 เมกะวัตต์ที่ไม่ได้ใช้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย และล้นเกินมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นต้นทุนหรือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ในช่วงที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่ไม่ได้เดินเครื่อง เช่น โรงไฟฟ้าบางปะกง เครื่องที่ 3, 4, โรงไฟฟ้าจะนะเครื่องที่ 1 หากปลดออกจากระบบ ค่าใช้จ่ายก็จะลดลง ซึ่ง กฟผ. ยังมีโรงไฟฟ้าเก่าที่สแตนบายอย่างเดียวแบบนี้อีกหลายโรง เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ หลายโรงไม่ได้เดินเครื่อง แต่รัฐยังต้องจ่ายให้ หน่วยที่มาคิดค่า Ft คือ 70 สตางค์ต่อหน่วยที่ไม่ได้เดินเครื่อง และพวกนี้มีเป็น10,000 ล้านหน่วย จึงกลายเป็นต้องจ่ายจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐที่นำมารวมมาเป็นค่า Ft เช่น ค่า adder ประมาณหมื่นกว่าล้านบาทต่อปี เป็นความผิดพลาดให้ค่าไฟต่อหน่วยบวกไปเพื่อเป็นแรงจูงใจกับโครงการโรงไฟฟ้าหมุนเวียนจํานวนหนึ่ง แล้วก็ยังไม่หมดอายุไปจนถึง 25 ปี จนมีเศรษฐีรายใหม่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าหมุนเวียน adder เพราะปัจจุบันในต่างประเทศถูกมาก แต่ประเทศเราต้องจ่ายแพงโดยไม่ได้ประโยชน์จากต้นทุนไฟฟ้าหมุนเวียนที่ลดลง จนทำให้เรามีอภิมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่มาจากภาคไฟฟ้าโดยที่กิจการหลักของเค้าก็คือ มีสัญญาผูกขาดกับรัฐบาลในภาคไฟฟ้า ฉะนั้น ต้องมีการทบทวนระบบที่เรียกว่า enhance single buyer หรือผู้ซื้อรายเดียวนี้ โดยควรจะใช้วิกฤตสงครามเพื่อที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบไฟฟ้าที่ยั่งยืน เป็นระบบไฟฟ้าที่เอื้อต่อข้อตกลงเรื่องโลกร้อนที่ประเทศไทยได้ไปให้คำมั่นสัญญาไว้
ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า วิกฤตสงครามเป็นเพียงตัวกระตุ้นทำให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงทางนโยบายพลังงานของไทย มีการจัดการพลังงานชาติ 5 ทศวรรษ โดยมี EGAT เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเดียวตามกฎหมาย มีผู้จําหน่ายไฟฟ้าคือการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นระบบตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้เห็นว่า พลังงานโยงกับทุกภาคส่วน อนาคตระบบโลกเปลี่ยนไป ระบบของพลังงานก็จะเปลี่ยนไปด้วย ไทยมีระบบการจัดการพลังงาน คือ Digitalization,Decarbonization,Decentralization, De-Regulation, Elecricfication เป็นตัวกระตุ้นทําให้ระบบพลังงานของประเทศไทยเปลี่ยนแปลง ในองค์กรของเอกชนมี 3 องค์กรหลักเป็นเครื่องจักรของประเทศ คือสภาอุตสาหกรรม ทำหน้าที่เป็นซับพลายเออร์, สภาหอการค้า เป็นดีมานด์ และสมาคมธนาคารเป็น engine เป็น finance ที่มาหล่อเลี้ยงทําให้ทุกกิจกรรมเดิน เพราะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่เปลี่ยนไปเพราะไม่สามารถแข่งขันบนโครงสร้างพื้นฐานเดิมกับประเทศในอาเซียนด้วยกันได้ จึงต้องเปลี่ยนแปลง
อีกมิติหนึ่ง พลังงานไปผูกโยงกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) มีผลมากในการเทรด เพราะว่ามันถูกบังคับอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สากลอเมริกัน บังคับว่าบริษัทที่ไม่ทํากรีน ไม่ใช่พลังงานสะอาด ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นสูงขึ้น ก็จะมาบังคับ มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาบีบบังคับให้บริษัทต่างๆ ต้องใช้นโยบายกรีนกับใช้พลังงานสะอาดสะอาด และส่งผลมาถึงกลุ่มเอสเอ็มอี
ในส่วนของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกหากดูจาก Section ในของประเทศที่ปลดปล่อยมากที่สุดคือจีน ตามมาด้วยอเมริกา, EU,อินเดีย, รัสเซีย และญี่ปุ่น ในการที่จะลดพลังงานให้ได้มาก จึงต้องมุ่งไปที่ภาค energy industry เพราะสามารถลดไปได้ครึ่งหนึ่งทีเดียว ซึ่งจะมาเกี่ยวกับไทยในส่วนของมาตรการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ถ้าปล่อยมากกว่ามาตรฐานยุโรปก็ต้องจ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เกิดมานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนจะต้องเตรียมตัว หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่แก้ไข ไม่สนใจ ในเรื่องพลังงานสะอาดอาจจะอยู่ได้ประเทศไทย แต่ว่าส่งออกไม่ได้ ตอนนี้พบว่าไทยไม่มีตั้งแต่ database ข้อมูลการใช้พลังงานเพื่อทํา carbon footprint เพราะไม่เคยทํา ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก
ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกปี 2544 ที่เคยบอกว่าจะเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย แต่วันนี้ประเทศไทยปัจจุบันไม่มีแรงงาน ในขณะที่ประเทศเวียดนาม อินโด ฟิลิปินส์ มีประชากรมากกว่า ไทยยังมีค่าแรงที่สูง กฎระเบียบ เรื่องของสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบแบบว่าเราไปไกลทำให้แข่งขันยาก ดังนั้นในเรื่องของ crisis ของพลังงาน มันควรจะคุยกันและเพื่อหาทางออกของประเทศ เพราะว่าถ้าเราคุยกันถึงจุดที่ก็เป็นจุดอ่อนอย่างเดียว ของรัฐก็ดี เอกชนก็ดีมันเดินไม่ได้ แต่จะทํายังไงให้รัฐกับเอกชนเดินด้วยกัน แล้วก็อาจจะเป็นทั้งเอ็นจีโอ ทั้งภาคสังคมต่างๆ นานา ต้องมาชี้เป้าว่า แล้วเราจะเดินยังไง มีปัญหาก็แก้ แต่ถ้ามีปัญหาหรือมาบ่นไม่เลิก ก็จะไม่มีทางจบ
แนวทางแก้ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย
ในส่วนของแนวทางการแก้ปัญหา คุณธัญญาภรณ์กล่าวว่า วิกฤติสงครามหากไม่ทำอะไรเลย ผู้บริโภคจะทำอะไรได้บ้าง เห็นว่าน่าจะมีสามข้อหลักคือ หนึ่ง หาเงินมาจ่ายค่าไฟ ข้อสองก็คือถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ต้องลดการใช้ไฟ และหากพอมีกำลังและมีศักยภาพ อาจจะต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์ นี่คือสิ่งที่คิดว่าผู้บริโภคทำในระดับปัจเจกโดยไม่แตะโครงสร้าง
แต่หากพูดถึงระดับโครงสร้าง สิ่งที่ต้องเร่งทําเพื่อผ่อนภาระผู้บริโภค ในการการแก้สถานการณ์ปัญหาเฉพาะหน้าคือเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้สูตรในการคิดค่าไฟโดยการใช้ก๊าซจากอ่าวไทย ไม่ใช่ราคาผูกรวมค่า Ft ที่เกิดจากหลายๆ อย่าง ส่วนระยะยาว ต้องแก้ปัญหาเรื่องโรงไฟฟ้าที่ล้นเกิน ไม่ควรจะไปเซ็นสัญญาตัวโรงไฟฟ้าหรือแม้แต่เขื่อนใหม่เข้ามาซ้ำเติมในระบบเพิ่มว่า นี่คือแก้ปัญหาเน้นที่ค่าไฟก่อน
ต่อมาคือต้องปรับเรื่องโครงสร้างค่าไฟให้เป็นธรรมกว่านี้ ต้องเริ่มการศึกษา เพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสอดคล้องว่าแล้วพลังงานหมุนเวียนมันจะเข้ามาเติมในระบบได้อย่างไร เพราะตอนนี้ผู้ประกอบการจะไปติดเรื่องเงื่อนไขการค้าขายระหว่างประเทศถ้ายังใช้ตัวฟอสซิล แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราถูกล็อคด้วยสัญญาการใช้ฟอสซิลยาวนาน 20- 25 ปี ดังนั้นจึงต้องปลดล็อกตรงนี้ให้ได้
ขณะที่คุณวิฑูรย์กล่าวว่า ตอนนี้มีความย้อนแย้งของหลักการที่ประเทศไทยยึดถือ โครงสร้างของภาคพลังงานไทยโดยเฉพาะไฟฟ้าผูกขาดรวมศูนย์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เราเรียกว่า พัฒนามาจากระบบที่เค้าเรียกว่า nationalization ทุกอย่างเป็นของรัฐ เพราะว่าเป็นเรื่องความมั่นคง ยังผูกขาดโดยรัฐวิสาหกิจ แต่ว่ากลับไปยึดหลักเรื่องของตลาดเสรี โดยอ้างอยู่เสมอว่าเราต้องอิงราคาตลาดโลก ต้องเปิดให้เอกชนเข้ามาแบบตลาดผู้ซื้อรายเดียว กกพ.ยังผู้ซื้อรายเดียว ซึ่งระบบนี้มันมีการศึกษามาแล้วทั่วโลกว่ามีแนวโน้มที่จะทําให้มีการสํารองล้นเกิน
ถ้าไม่สามารถที่จะปฏิรูปหรือว่าแก้ไขก็จะมีปัญหาต่อไป นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลเป็นปัญหาใหญ่มากในภาคพลังงานโดยเฉพาะภาคไฟฟ้า อย่างกฎหมายเรื่องกรรมการกํากับพลังงาน ซึ่งโดยหลักการจะต้องเป็นอิสระ โดยหลักการจะต้องเป็นตัวแทนผู้บริโภคที่เป็นคนที่กําหนดค่าไฟ เป็นคนกําหนดมาตรฐานต่างๆ แต่ก็เป็นกลไกที่ตั้งด้วย ม.44 (คสช.) ตอนนี้ชุดปฏิบัตินี้อยู่มาสองสมัย สะท้อนว่าไม่มีธรรมาภิบาล ไม่มีความโปร่งใส อย่างค่า Fะ หรืออะไรทั้งหลาย ไม่รู้ว่าอะไรบ้าง ค่าสารพัดก็ยัดไปได้ เรียกว่าต้นทุน
ในขณะนี้ ระบบเริ่มถูกท้าทายกระแสโลกเรื่องโลกร้อน ถ้าอยากจะค้าขายกับต่างประเทศต้องว่าไปตามกติกา เรื่องโลกร้อนนี้ภาคที่ตื่นตัวมากที่สุดคือภาคเอกชนไม่ใช่รัฐบาลเพราะต้องแข่งกับปัจจุบัน ดังนั้น จะอยู่อย่างนี้ โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงหรือช้าก็จะกลายเป็นไดโนเสาร์
ขณะที่ ดร.สุวิทย์กล่าวว่า การปรับโครงสร้างต่างๆ รวมถึงโครงสร้างพลังงานของประเทศ ต้องดูทั้งหมด รวมถึงการดูเรื่องที่เป็นกายภาพ หากจะต้องเปลี่ยนแปลงก็ต้องใช้โครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงสุดกับเงินเม็ดเงินที่ลงทุนไป ไม่ไปลงทุนกับกิจการใหม่เท่าในเรื่องของการปรับ ต้องควบคู่กับ infrastructure ของประเทศที่มีอยู่ คือต้องประหยัด อันนี้คือข้อแรกที่เราช่วยตัวเองได้ก่อน เชื่อว่าเราผ่านไปได้ทั้งเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่องการใช้พลังงานการใช้โครงสร้างให้มีประโยชน์สูงสุด ที่สําคัญคือ อย่าไปลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มันเกินไปแค่นั้นเอง โรงไฟฟ้าไหนที่ไม่ดีก็ดรอปไป แล้วก็พยายามจะให้เฟดออกไปให้มัน smooth เชื่อว่าเราก็จะรอด
คุณธัญญาภรณ์กล่าวในตอนท้ายว่า ทุกฝ่ายจะต้อง “จินตนาการใหม่” ถึงเรื่องความมั่นคงพลังงานที่เป็นรากฐานสําคัญในการที่รัฐบาลจะเอามาวางแผนหรือกําหนดนโยบายเดิม แม้จะมองว่าแค่มีพลังงานใช้ มีไฟฟ้าใช้ และในราคาถูก แต่ก็ควรจินตนาการใหม่ว่า หนึ่ งมีไฟใช้เพียงพอ แต่ไม่ต้องล้นเกินมากเกินความจําเป็น
สองคือ ราคาอาจจะแพงกว่าเดิมขึ้นเล็กน้อย แต่ว่าเป็นเชื้อเพลิงหรือว่าเป็นพลังงานที่มีความยั่งยืนกว่าตัวเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องใส่เข้าไปในระบบ เวลาคิดไปถึงอนาคต รวมถึงพูดถึงเรื่องความเป็นธรรมที่ต้องมีทั้งระบบ ดูแลทําให้ทุกอย่างไปต่อ หรือโครงสร้างค่าไฟที่ต้องปรับไม่ว่าจะใช้ฟอสซิลหรือหมุนเวียน ตัวโครงสร้างค่าไฟอาจจะต้องเป็นสิ่งที่ต้องคิดมาก
ต่อไปในอนาคต เรื่องของ ecosystem ต้องทําให้ง่าย ไม่ใช่อย่างที่ว่าเวลาคิดติดตั้งโซลาร์เซลล์ที ต้องเดินเอกสารหนักเป็นกิโล คุณธัญญาภรณ์กล่าว
Indie • in-depth online news agency
to “bridge the gap” and “connect the dots” with critical and constructive minds on development and environmental policies in Thailand and the Mekong region; to deliver meaningful messages and create the big picture critical to public understanding and decision-making, thus truly being the public’s critical voice