The BCG Economic Model is a holistic economic development model that was initiated by the General Prayut Chan-o-cha government in 2020 to change the direction of economic development and national development following the pandemic to focus on developing three economies simultaneously; Bioeconomy, Circular Economy, and Green Economy. Parties concerned agreed on its concept and principles, but putting the model into practice still remains much of a challenge
During the 2022 APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) meeting that Thailand hosted, the Thai government announced the concept and principles of the BCG economic model (Bio-Circular-Green-Economy model) to the world once again to confirm the country’s intention to fully move towards a new economic model.
The BCG Model is a holistic economic development model that was initiated during the Gen. Prayut government to change the direction of economic development and national development with the Bioeconomy that aims to create added value of biological resources, the Circular Economy that takes into account the use of resources for maximum value or for the longest period of time, and the Green Economy that emphasises on the sustainability of resources and the environment.
The BCG executive committee explained that economic development does not focus only on economic development; it must be developed in tandem with social development and environmental protection in a balanced manner to achieve stability and sustainability simultaneously. Thailand’s advantages from biological and cultural diversity have been transformed into competitiveness and innovation to create a BCG economy that grows and competes on a global level while distributing income to communities, reducing inequality and strengthening communities with environmental friendliness and sustainable development.
Parties concerned agreed on the concept and principles, but putting the model into practice still remains much of a challenge. Academics and thinkers on sustainable development Including civil society representatives discussed and proposed ways to improve the BCG concept at the forum “BCG Economy Model; A “Green” Development Pathway?” at a time when the government was driving the BCG strategy and action plan (2021-2027) and announcing its position to the world in the APEC forum.
Dr. Suvit Measincee, a former science minister who was also a BCG policy pioneer, gave an overview of the government’s concept of BCG, saying that it is a tool to link the global goal of sustainable development and the country’s sufficiency philosophy initiated by the late King Rama IX. BCG is a concept to create stability in people’s living conditions, food and environment, and economic security and finally leads to sustainable consumption.
BCG should not be regarded as project-based development but actually it is a key mechanism to enhance career and area-based development, which has combined the country’s fertile biodiversity and culture to create a proper development based on each area. This would help eradicate poverty and increase equality in society in the end. Moreover, it has played a key role in connecting start-up developers, SME entrepreneurs and giant companies to shape social, environmental and economic development sustainably. Unfortunately, the country still lacked social movement to achieve the goal, he said.
The practice would be full of energy, combining Place-People-Products perfectly. The Place represents the cultural diversity and resources of each locality. People represent human resources and local wisdom. These two things when complementing science, technology, and innovation help. Combined with the BCG economic development approach, the local areas will be able to create many products and products.
Dr. Suvit remarked that the Area-based BCG would answer the question of inclusive growth, which is the way to reduce inequality. It is the growth that everyone has the opportunity, to engage thoroughly in the concept of “leaving no one behind”, and every area has the opportunity to utilise its potential and illuminates. This is the heart of the BCG economic model that no one touched upon. Policymakers just talked about restructuring the economy by developing and dividing the economy into sectors, Dr. Suvit remarked.
If managed well as earlier proposed, BCG will create People Power at the foundation level of the pyramid, not Market Power, Dr. Suvit said, adding that its charm does not come from being measured in terms of competitiveness. The GDP growth rate does not require exponential growth like the economic systems that have existed in the past and present. but it wants quality growth and will answer the question of prosperity, sustainability and equality.
Other participants agreed that the government’s BCG policy would meet with a failure if people didn’t get benefits. For example, a case of PM 2.5 pollution from slash-and-burn agriculture in the north can be fixed if the government supports buying carbon credits from maize after harvests. But the problem still exists because no policy or measures are introduced to help farmers stop burning their farm residues. When there is no other choice, burning is the best way to save costs.
They also raised concerns that the BCG policy would be finally changed into greenwashing and giant entrepreneurs would benefit from this. With the world changing to the green economy, giant companies normally turn to clean technology with low carbon emissions investment for their business future. The challenging point is how to make SMEs change together. BCG should not be designed under a prospective of rapid economic growth but for sustainable local community development instead. Importantly, BCG should promote a thought of “Degrowth”, otherwise it will repeat the failure of capitalism and consumerism that have sped up climate change disasters, they said.
From the perspective of civil society groups, they also expressed concerns that BCG didn’t put importance on organic farming and agriculture sustainability because representatives from the country’s giant plant and seed companies are on the BCG committee. They are afraid of the law amendment on plant species protection BE 2542 by making it in line with UPOV 1991, which would have a strong impact on farmers’ rights who wish to keep plant seeds for further plantations while paving the way to business monopolies. The issue of GM crop plantation might be included in the policy. If this happens, it will stimulate a giant loss of biological systems and biodiversity.
They were also concerned that the government’s policy on increasing the number of forest areas by offering 2.2 million rai forest plantations to the private sector would create more conflict with the locals living in the forest. Fast-growing trees are likely to be the main option, but they might not be suitable for the specific ecological system. It said that the EU Green Deal is a pathway to join because it strongly determines to increase organic farms by 25% and reduce chemical fertilizer by 50% by 2030, but such a clear target has not yet been included in the BCG plan.
Meanwhile, local representatives shared their experiences with the projects that caused harm to their living conditions and the environment. People living in Lob Buri province raised a strong concern about the wind energy project, saying that the green energy under the BCG policy is not truly green for their community because its location is not appropriate while destroying their forest zone and changing the river flow. The locals have still maintained their position of opposing the project.
People from Chumphun province raised concerns about the Land Bridge project, saying that it would destroy sustainable farming practices in the community. They said that the ecological system and beautiful mountainous landscape would forever disappear if the project was undertaken. Residents from Chana in Songkhla province said that the industrial estate development in their hometown would have completely ruined the local way of life when the agricultural zone would change into an industrial complex, resulting further in a problem of pollution and social changes.
The locals agreed that they should have a voice in selecting a project that is the most suitable for their living environment. In the south, the projects should be associated with the food industry to create synergic development among the local communities. They should have their own rights to development that is based on the tradition and culture and promote their local wisdom.
Additionally, they called on the government to abolish all orders made by the National Council for Peace and Order, saying that the communities are now suffering from the orders, which were made without concerns about environmental impacts and people’s livelihoods. These include an exemption of an Environment Impact Assessment (EIA) study for all power plants and city planning regulation that fails to regulate recycling plants. They potentially place communities under the threat of a heavily polluted environment without the state paying attention to their plights.
FB LIVE RECORDING: Year-end Dialogue Forum 2022: BCG Economy Model; A “Green” Development Pathway?
โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่ถูกริเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในช่วงปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศมามุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy), และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ภายหลังการระบาดของโรคโควิด 19
หลายๆ ฝ่ายยอมรับในแนวคิดและหลักการ แต่ยังมีข้อสังเกตและคำถามต่อการขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวไปสู่รูปธรรม
ในการประชุม 2022 APEC (Asia-Pacific Economic cooperation) ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ รัฐบาลไทยได้ประกาศการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bio-Circular-Green-Economy model) ต่อโลกอีกครั้งเพื่อยืนยันเจตนารมย์ของประเทศที่จะก้าวสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่อย่างเต็มรูปแบบ
BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่ถูกริเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในช่วงปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศมามุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และต่อยอดไปยังเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
โดยคณะกรรมการฯ BCG ได้อธิบายความไว้ว่า เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน ทั้งนี้ ได้มีการเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
หลายๆ ฝ่ายยอมรับในแนวคิดและหลักการ แต่ยังมีข้อสังเกตและความคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวไปสู่รูปธรรม นักวิชาการและนักคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งตัวแทนภาคประชาสังคมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนและเสนอแนวทางการปรับปรุงแนวคิด BCG ในเวทีเสวนา “BCG, เส้นทางการพัฒนาสีเขียว? I BCG Economy Model; A “Green” Development Pathway?” ในห้วงเวลาที่รัฐบาลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการฯ BCG (2564-2570) และประกาศจุดยืนต่อโลกในเวที APEC
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และกรรมการบริหารฯ BCG กล่าวว่า การขับเคลื่อน model เศรษฐกิจแบบ BCG ของไทยนั้นควรมุ่งเน้นพัฒนา BCG เชิงพื้นที่ (Area-Based BCG) นั่นก็คือเอาโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG ลงไปจับกับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีการรวมกลุ่มจังหวัดเพื่อบริหารงานแบบบูรณาการอยู่แล้ว 18 กลุ่มจังหวัด แต่ละกลุ่มจังหวัดก็จะมีชุดของโอกาสที่แตกต่างกันทั้งทางวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีผลิตผลและผลิตภัณฑ์อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์กระจัดกระจายอยู่มากมาย มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน local startups, SMEs, วิสาหกิจชุมชน, และ OTOP
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ให้กลุ่มจังหวัดบริหารจัดการกันดูว่าอยากจะชูโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากในส่วนไหน เมื่อแต่ละกลุ่มจังหวัดกำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาของกลุ่มชัดเจนแล้วก็ใช้ทิศทางและเป้าหมายนั้นขับเคลื่อนลงไปในรายจังหวัดและลงสู่ชุมชน สู่เศรษฐกิจชุมชนที่ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ โดยภาครัฐส่งเสริมงบประมาณ ส่งเสริมการวิจัย สร้างเครือข่ายการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ สร้างนวัตกรรม นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเติมเต็มด้วย brain power, manpower หรือ AI (Artificial Intelligence) อะไรก็ตาม ให้กิจการต่างๆ ในระดับชุมชนพัฒนา จนเกิดสมดุลทั้งสามด้านคือ ด้าน Bioeconomy ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรชีวภาพที่แต่ละท้องถิ่นมีอยู่ ด้าน Circular Economy ที่มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และด้าน Green Economy ที่มุ่งพัฒนาโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากร การอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม
ถ้าทำได้แบบนี้ การขับเคลื่อนจะเต็มไปด้วยพลัง ผสานเรื่อง Place-People-Product ได้อย่างลงตัว Place ในที่นี้แทนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทรัพยากรของแต่ละท้องถิ่น People แทนทรัพยากรบุคคลและภูมิปัญญาท้องถิ่น สองสิ่งนี้เมื่อเติมเต็มเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเข้าไปช่วย บวกกับแนวการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ท้องถิ่นก็จะสามารถรังสรรค์ออกมาเป็น Product ผลิตผลและผลิตภัณฑ์มากมาย
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า นอกจากนี้ ควรมุ่งเน้นพัฒนา BCG เชิงอาชีพ (Career-based BCG) ควบคู่กันไป ที่ผ่านมามีการพูดถึง Smart Farmer ทำไมไม่ทำให้เป็นจริง ให้เด็กอยากเป็น Smart Farmer จริงๆ ทำอย่างไรให้เขาเป็น creative entrepreneurs เป็น startups ไทยต้องการ unicorns ต้องการ startups ท้องถิ่น ทำอย่างไรจะสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น ให้มี Smart Farmer, Smart SMEs ให้มี Health Tech หรืออะไรก็ตามให้กับบัณฑิตที่จะจบใหม่ หรือสร้างทักษะ (reskill) ยกระดับทักษะที่มีให้ดีกว่าเดิม (upskill) ให้กับประชาชนในระบบเศรษฐกิจฐานราก
ถ้าตนเองเป็นรัฐบาล จะชูเรื่อง Area-based BCG ในการขับเคลื่อน Area-based BCG เท่านั้นที่จะตอบโจทย์ inclusive growth ซึ่งก็คือทางลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการเติบโตที่ทุกคนมีโอกาส มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทุกๆ พื้นที่มีโอกาสจะใช้ศักยภาพของตัวเอง เปล่งพลังออกมา นี่คือหัวใจสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG ที่ไม่มีใครพูดถึงเลย ไปพูดถึงกันแต่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจแบบแยกการพัฒนาเป็น sector เป็นภาคอุตสาหกรรมใหญ่ๆ
ฉะนั้นถ้าบริหารจัดการดีๆ ตามแนวทางที่เคยเสนอไว้ BCG มันจะสร้าง People Power ที่ระดับฐานรากของปิรามิด ไม่ใช่สร้าง Market Power และเสน่ห์ของมันก็ไม่ได้มานั่งวัดกันเรื่องขีดความสามารถทางการแข่งขัน อัตราการเติบโตของ GDP ไม่ต้องการการเติบโตแบบก้าวกระโดดเหมือนระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในอดีตและปัจจุบัน แต่ต้องการการเติบโตอย่างมีคุณภาพ มันจะตอบโจทย์ความมั่งคั่ง ยั่งยืน และเท่าเทียม ตรงนี้คือเกมแก้จนอย่างแท้จริง BCG เป็น model ที่จะสร้าง Rural Capitalism ทุนนิยมในชนบทได้สบายๆ และในเชิงการเมืองมันก็เป็น Democracy from below ด้วย, ดร.สุวิทย์ กล่าว
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ไม่ใช่แค่ sustainable mode of production and construction แต่เป็น Distributive Mode of Production and Construction หมายถึงว่า มันกระจายไปในระบบเศรษฐกิจชุมชนทั่วประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน SMEs, OTOP, วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ มันไม่ได้ผูกขาดว่าจะต้องเป็นทุนใหญ่หรือกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในฐานการผลิตเท่านั้นถึงจะเข้าถึงโมเดลเศรษฐกิจแบบนี้ได้
ถ้าบริหารจัดการดีๆ ก็จะสามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เศรษฐกิจระดับชุมชนสามารถยืนได้ด้วยขาตัวเอง การเกษตรปรับตัวเป็นเกษตรสมัยใหม่ แบบนี้ต่อไปรัฐไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ไม่ต้องทุ่มงบประมาณหลายแสนล้านบาทต่อปีอุดหนุนราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน วงจรปัญหาเก่าๆ ที่วนเวียนซ้ำซาก เปลี่ยนงบประมาณอุดหนุนราคาพืชผลเกษตรเหล่านั้นมาลงกับ Area-based BCG ทำโครงสร้างพื้นฐานชุมชนให้ดี ทั้งสาธารณูปโภค ระบบน้ำ อินเตอร์เน็ต ส่งเสริมแหล่งพลังงานชุมชน แหล่งพลังงานสะอาด ส่งเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพผลิตพลังงานใช้เองได้ ทำเรื่องนี้ดีๆ จะทลายทุนผูกขาดในวงการเกษตร วงการพลังงานเลยทีเดียว ดร.สุวิทย์กล่าว
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ช่องว่างที่เป็นปัญหาในการนำโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG ไปสู่ภาคปฏิบัติมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรกคือเรื่อง concept แนวคิด เรื่องที่สองคือเรื่อง communication การสื่อสารทำความเข้าใจ สองเรื่องนี้เป็นจุดตายของนโยบาย คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่องนี้อยู่มากมาย เรื่องที่สามคือ social movement พลังขับเคลื่อนทางสังคมที่จะนำพาเรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงยังไม่เกิด ฉะนั้น ต้องทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัว มีความสำคัญ สามารถเข้าถึงเอามาปฏิบัติใช้ได้จับต้องได้ไม่ยาก เรื่องที่สี่ก็คือ หน่วยงานต่างๆ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติยังทำงานกันแบบแยกส่วนเป็น silo แบบเดิมๆ ไม่เป็นเอกภาพ ต่างคนต่างทำ
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ใน concept นั้น หลายคน แม้กระทั่งฝ่ายนโยบายเองก็ยังเข้าใจผิดอยู่ว่า BCG จะเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่มุ่งพัฒนาเชิง Sectoral-based ชูการพัฒนาเฉพาะ 10 อุตสาหกรรมดาวเด่น (10 S-Curve) เป็นหลัก ซึ่งมันไม่ใช่ Sectoral based นั้นเป็นเพียงมิติเดียว มันยังมี Area-based และ Caree-based ซึ่งสำคัญมาก เป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนที่รัฐบาล และใครๆ ไม่เคยพูดถึงเลย
อย่างไรก็ตามในส่วนของ Sectoral-based มองดูแล้วมีเพียง 5 S-Curve แรกได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรที่ประเทศไทยสามารถนำโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เข้าไปจับ เพราะเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ถนัดของประเทศอยู่แล้ว
ถ้าทำดีๆ ก็จะเป็นโอกาสของประเทศไทยในการปรับตัวให้สอดรับกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกทางด้านอาหาร พลังงาน เงินเฟ้อ ห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain ) ทำให้ประเทศก้าวสู่การเป็นดาวเด่นทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน และสุขภาพ ส่วนอุตสาหกรรม 5 S-Curve หลัง อันได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมดิจิทัล เรื่องพวกนี้ยังเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประเทศไทย
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ไม่ต้องไปกลัวว่าภาคอุตสาหกรรม ทุนใหญ่ บริษัทใหญ่ๆ จะอาศัยโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG ไปใช้ฟอกเขียว เท่าที่ได้พูดคุยกับรายใหญ่หลายราย เขามองว่าเรื่องนี้เป็นการลงทุน investment อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมทั้งหลายก็ต้องปรับตัวให้เป็นธุรกิจสีเขียวอยู่แล้ว ไม่ทำก็ไม่รอด เพราะโดนบังคับด้วยโจทย์ของโลกในการแก้ปัญหาสภาวะโลกรวน Climate Change ประเด็นสำคัญที่ควรสนใจมากกว่าก็คือ รายย่อยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนต่างหาก กลุ่มนี้ไม่ฟอกเขียว แต่เราจะทำอย่างไรให้เขาดำเนินกิจการแบบเขียวไปด้วยกัน เรื่องนี้รัฐบาลยังไม่เคยคิดเลย
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า นอกจากนี้ควรขยายผล BCG ออกไปในระดับภูมิภาค region อย่างน้อยก็ในกลุ่มประเทศ CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam) จนถึงระดับ ASEAN เพราะเราอยู่ในกลุ่มประเทศเดียวกัน สุขก็สุขด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน ทำเรื่องนี้ให้เป็น soft power อันหนึ่งของไทยไปเลย
ที่ผ่านมาตนเคยได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG ให้คณะทูตประเทศในแถบยุโรป 10 ประเทศได้ฟัง คณะทูตว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่ใหม่ก็คือมีเพียงประเทศไทยที่นำเอาสามเรื่องมาถักทอทำร่วมกัน ผสานกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และร้อยเรียงด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นความสมดุลและพอดี ทั้งหมดนี้จะตอบโจทย์เรื่องความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ความมั่นคงในที่นี้ไม่ใช่ความมั่นคงทางทหารแบบเดียว แต่เป็นความมั่นคงในชีวิตมนุษย์ เป็นเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ทางพลังงาน แหล่งน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย
สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ได้เคยบอกท่านไปว่า BCG ถ้าทำดีๆ สามารถดันไปสู่ global agenda ได้ ท่านนายกฯ ต้องไม่ใช้คณะกรรมการแบบเดิมๆ ทำงานเป็น routine สามสี่เดือนประชุมกันที แบบนี้ไม่เอา ขอให้อย่างน้อยทำแบบสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผลักดันโครงการ Eastern Sea Board ออกมาเป็นผลสำเร็จ ด้วยการตั้ง Technocrats เพียงไม่กี่คนเป็นคณะกรรมการ เลือกคนที่เป็นครีม เป็นหัวกะทิ ประชุมหารือกันแบบตามติดชนิดกัดไม่ปล่อยจนโครงการสำเร็จ
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ถ้าจะทำให้โมเดลนี้ก้าวสู่ภาคปฏิบัติได้จริงในสังคมไทย สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ political mindsets เราออกแบบให้ BCG เป็นโมเดลแบบกระจายตัว แต่ถ้าฝ่ายนโยบายคนที่เป็นฝ่ายขับเคลื่อนบอกว่าจะเอารายใหญ่ก่อน พิจารณาตาม sector ของภาคอุตสาหกรรมก่อน แบบนี้ก็จบ ไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ต้องเข้าใจก่อนว่าการมีส่วนร่วม คือหัวใจของความยั่งยืน
เรื่องนี้อย่าไปพึ่งฝ่ายการเมือง ต้องทำเรื่องนี้ให้ประชาชนเชื่อ ศรัทธา และเป็นจริงจับต้องได้ ไม่ใช่วาทะกรรม ทำให้เกิดเป็น social movement เป็นกระแสสังคมที่ประชาชนทำกันเอง แล้วเมื่อนั้นนักการเมือง พรรคการเมือง หรือรัฐบาลจะเข้ามาสนับสนุนตามแรงผลักดันของประชาชนเอง ถ้าทำได้แบบนั้น ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล จะสานต่อแนวทางหรือไม่ ต้องทำให้สังคมเห็นคุณค่า ประโยชน์ของมัน อย่าไปมองว่า BCG เป็นของรัฐบาลประยุทธ์ เอามาเป็นเงื่อนไขที่จะไม่ผลักดัน ควรมองว่าเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน public goods ถ้ามันไม่ดีก็เลิกไป ดีก็ผลักดัน political engagement เป็นเรื่องสำคัญ และต้องคู่กับ people empowerment จะเกิดประชาธิปไตยแบบฐานราก แล้วไม่ต้องกลัวเด็กๆ มาชูนิ้วอะไรหรอก ถึงวันหนึ่งปากท้องเขาอยู่ได้ ลืมตาอ้าปากได้ เขาไม่มาหรอก เสียเวลาเขา BCG รัฐบาลยังผลักดันแบบกึ่งสุกกึ่งดิบยังไม่ตกผลึก ถ้ายังเป็นแบบนี้ปีหน้ามันก็หายไปไม่มีประโยชน์ ดร.สุวิทย์กล่าว
BCG และความท้าทายในการสร้าง social movement และ People Power
เวที BCG Talk ยังได้พูดกันถึงว่าปัญหาหลักๆ ที่มีต่อการขับเคลื่อนแนวทางเศรษฐกิจแบบ BCG ก็คือ นโยบายเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่เข้าถึง เข้าใจและไม่เป็นที่สนใจของคนทั้งประเทศ หรือแม้เข้าถึงคนจำนวนหนึ่งแล้ว ความเข้าใจของแต่ละภาคส่วนก็ยังไม่ตรงกัน ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ชาวบ้าน ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ไม่เห็นการทำเป็นตัวอย่างให้เกิดรูปธรรมจับต้องได้ จึงไม่เกิด social movement
ปัญหาโครงสร้างคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการขับเคลื่อน ยังคงเป็นรูปแบบเดิมๆ ที่องค์ประกอบเป็นรัฐมนตรี ผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ CEO บริษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การกำหนดทิศทางขับเคลื่อนจึงสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดคำถามว่าทำเพื่อฟอกเขียว สร้างภาพ ก่อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจเพียงไม่กี่กลุ่ม การพัฒนาจะเป็นแบบกระจุกไม่กระจาย หัวโตอยู่เฉพาะกลุ่มทุนใหญ่ๆ
โครงสร้างแบบนี้เป็นอุปสรรคที่จะทำให้เกิด People Power ที่ต้องการ ที่สำคัญเมื่อโครงสร้างคณะกรรมการเป็นแบบนี้ การจัดทำแผนปฏิบัติการฯ จึงมีปัญหาเรื่องกรอบความคิดที่เอียงไปในทิศทางที่กลุ่มธุรกิจต้องการ ไม่มองมุมของภาคประชาชน และไม่ให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรการกำกับติดตามตรวจสอบสักเท่าไหร่
ปัญหาความเชื่อมั่นของภาคประชาชนต่อโครงการต่างๆ ของรัฐในอดีตที่ส่วนใหญ่บริหารจัดการไม่ดี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชน ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการ ออกแบบ แสดงความคิดเห็น ก็ส่งผลให้ประชาชนพลอยหวาดระแวงโครงการนี้ไปด้วย ผู้ร่วมเสวนาในเวทีฯ กล่าว
คุณสุนทร คมฉาย ตัวแทนชาวบ้านจากพื้นที่โครงการไฟฟ้าชีวมวลและบ่อขยะ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้ฉายให้เห็นภาพที่จะเชื่อมโยงกับ BCG ในภาคของ Circular Economy ว่า มีตัวอย่างการจัดการที่ไม่ดีเกิดขึ้นแล้วจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor (EEC)ที่ดำเนินการครอบคลุม 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา แต่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพประชาชน
ในจังหวัดรอบๆ โครงการถึง 7 จังหวัด เมื่อคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฏกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับประกอบกิจการบางประเภท ทำให้การก่อตั้งโรงงานจัดการการกักเก็บขยะอุตสาหกรรมสามารถก่อตั้งในพื้นที่ชุมชนได้ ผลจากคำสั่งนี้ทำให้มีโรงงานกำจัดขยะผุดขึ้นเป็นจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก มีทั้งโรงงานรีไซเคิลขยะ ก่อสร้างโรงงานฝังกลบขยะอุตสาหกรรม ผลที่ตามมาคือ การลักลอบทิ้งสารเคมีที่ระบาดไปทั่วตั้งแต่พนมสารคาม ปราจีนบุรี ลามไปถึงสระแก้ว
นอกจากประสบการณ์ไม่ดีที่มีต่อเรื่องการจัดการขยะแล้ว ก็ยังมีประสบการณ์ไม่ดีกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ผู้คนรอบโครงการโรงไฟฟ้าประสบเคราะห์กรรมปัญหามลพิษจากฝุ่นควัน การแย่งชิงน้ำ การปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนลงแหล่งน้ำสาธารณะ โครงการนี้เดิมมุ่งใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เป็นชีวมวลพวกเศษไม้ ใบอ้อย แกลบขี้เลื่อย ฟางข้าว ตอซังข้าวโพด มาทำเชื้อเพลิงลดการเผาหลังเก็บเกี่ยวในพื้นที่ภาคเกษตรที่สร้างปัญหา PM2.5 ทำไปทำมาตอนนี้แปรมาใช้เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอยชุมชนแทนแล้ว
จากข้อมูลของมูลนิธิบูรณะนิเวศที่คอยติดตามโครงการ EEC พบว่า อุตสาหกรรมโรงงานขยะ Recycle กลายเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมยอดนิยมใน EEC หลังประเทศจีนห้ามการนำเข้าขยะมาในประเทศ ยอดการนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จากนานาชาติมาสู่ประเทศไทยก็พุ่งสูงขึ้น เพื่อมาป้อนกิจการโรงงานขยะรีไซเคิล พื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งผลิตอาหาร พื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิมของชุมชน ถูกโรงงานขยะเข้าประชิดและครอบครองขยายกิจการ ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งเรื่องสารเคมี การปล่อยน้ำเสียของเสียลงพื้นดิน แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมีจากกิจการโรงงานขยะ
ดร.สมนึก จงมีวศิน ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการกลุ่มศึกษาพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (EEC Watch) กล่าวว่า เมื่อเห็นตัวอย่างจาก EEC เป็นปัญหาแบบนี้แล้ว BCG ก็จะเป็น BCG จอมปลอมเฉกเช่นเดียวกัน EEC เปิดให้ขบวนการ Circular Economy เข้ามาหมุนเวียนขยะก่อน เอาขยะมาเป็นสินค้า อันนี้มีมานานแล้วตั้งแต่โครงการ Eastern Seaboard แล้วกระจายไปทั่ว
ในปี 2558 ทางเครือข่ายเคยทำแผนที่การลักลอบทิ้งขยะกากอุตสาหกรรมอันตรายและไม่อันตรายทั้งหลายโดยใช้หลัก Circular Economy ก่อนที่รัฐจะมาชูเรื่องนี้ใน BCG เสียอีก และพบว่าการลักลอบทิ้งขยะเหล่านี้กระจายไป 15 จังหวัด มีสองจังหวัดที่ไม่มีปัญหาคือจันทบุรี และตราด แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ เพราะตอนนี้โรงงานขยะผุดขึ้นมาจำนวนมาก ยกตัวอย่าง จ.ฉะเชิงเทราในอำเภอหนึ่ง เพียงไม่กี่ปี โรงงานขยะจาก 58 แห่งที่ได้รับอนุมัติให้ทำเรื่องคัดแยกขยะ รีไซเคิลขยะได้ ขยายจำนวนเพิ่มขึ้น 107 % เห็นได้ชัดว่าเราเอา BCG มาใช้เป็นวาทะกรรมเพื่อหากิน อนาคตมันจะเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้ามีไว้เพื่อเอาไปขายของ ถ้าเรามี BCG แบบนี้ อย่ามีดีกว่า
คุณสุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า คำสั่งคสช. ที่ 4/2559 ทำให้ 7 จังหวัดภาคตะวันออกรอบ EEC มีโรงงานขยะผุดขึ้นถึง 925 โรง อันนี้นับแค่ที่ถูกกฎหมาย ไม่รวมที่ผิดกฏหมาย มีทั้งทุนไทยและทุนจีนเทามาลงทุนเรื่องโรงงานขยะ แถมไม่ได้จัดการเฉพาะขยะในประเทศ มีการนำเข้าขยะจากต่างประเทศเข้ามาจัดการด้วย เรียกได้ว่าไทยจะกลายเป็นถังขยะโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะความพยายามสร้างโรงไฟฟ้าขยะ รับขยะต่างประเทศมาเผา มันจะตอบโจทย์ zero waste ในภาคของ Circular Economy ได้อย่างไร มันก็ได้แค่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมขยะให้ทุนเท่านั้น สุดท้าย ประชาชนโดยรอบพื้นที่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากมาย
คุณสุภาภรณ์กล่าวว่า ไม่เฉพาะเรื่องขยะ ที่ผ่านมาหลายโครงการของรัฐเข้ามาทำให้พื้นที่แหล่งอาหารประชาชนเปลี่ยนเป็นฐานอุตสาหกรรม กระทบความมั่นคงทางอาหาร โครงการ EEC ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง แล้วยังจะมีเรื่องนิคมอุตสาหกรรมจะนะที่ถูกต่อต้าน ถ้าเราจะ Green จริง เราศึกษาแล้วใช่ไหมว่ามันจะยั่งยืนจริง จะสร้างพื้นที่เป็นเขียวแบบไม่กระทบชุมชนจริงหรือไม่
นอกจากเรื่องอาหารแล้วยังกระทบระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม นกสัตว์สูญพันธุ์พูดถึงไหมในพื้นที่ที่เราจะเอามาเป็นฐานการผลิตต่างๆ นโยบายที่ภาครัฐว่าดี ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมจะนะ นโยบายเรื่องขยะต่างๆ ไม่มีการประเมินผลกระทบเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาสู่การกำหนดทิศทางหรือนโยบายการพัฒนาให้เห็นความมั่นคงอย่างชัดเจน
ในมิติกฎหมาย เราไม่พัฒนากฎหมายเชิงป้องกัน ระบบ EIA เราถกกันมากี่ปีแล้ว แต่กฎหมายที่เราให้มีการเปิดเผยข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษ กลับไม่ยอมผลักดันให้เกิด นโยบายที่ดีจริงต้องเคารพชุมชน สิทธิมนุษยชน และระบบนิเวศน์ด้วย
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
คุณสุภาภรณ์กล่าวว่า เศรษฐกิจแบบ BCG ถ้าจะก้าวต่อไปข้างหน้าจากนี้ มีข้อเสนอว่า ต้องยกเลิกคำสั่งหรือกฏหมายที่ออกมาภายใต้รัฐบาลเผด็จการ คำสั่งหัวหน้าคสช.ต่างๆ ที่กระทบสิทธิ ต้องยกเลิกทั้งหมดโดยเฉพาะคำสั่งที่ 4/2559 ทบทวนกฎหมายที่ออกในยุครัฐบาลที่ผ่านมาเพราะว่าบางกฎหมายมีปัญหา เช่น พ.ร.บ. EEC พ.ร.บ.โรงงาน ที่ลดทอนมาตราการทางสิ่งแวดล้อมและเอื้อให้เกิดอุตสาหกรรมอย่างโรงไฟฟ้าขยะทุกขนาดที่ไม่ต้องทำ EIA
รัฐบาลควรขับเคลื่อนผลักดันกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิและกำกับมาตรการสิ่งแวดล้อม เช่น EnLAw จะผลักดันกฎหมายภาคประชาชน และพ.ร.บ.อากาศสะอาด ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการบรรจุเรื่องของ “สิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี” เอาไว้ด้วย การพัฒนาจะต้องลงไปศึกษาศักยภาพของพื้นที่ ศักยภาพของชุมชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดทิศทางพัฒนาโดยชุมชน คุณสุภาภรณ์กล่าว
คุณปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เสนอว่า ควรรื้อโครงสร้างกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ให้มีส่วนของภาคประชาชนเข้าไปร่วมบริหาร เพิ่มคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการในระดับพื้นที่ ต้องมีคนในพื้นที่นั้นๆ ร่วมบริหารซึ่งตอนนี้ไม่มี อนุกรรมการบางชุด 17 คน เป็นตัวแทนจากภาคเอกชน 15 คน ทั้งนี้ เท่าที่ติดตามดูกรอบทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG ไม่มีการพูดถึงเรื่องเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน เกษตรนิเวศน์เลย ไม่น่าแปลกใจ เพราะคณะกรรมการบริหาร BCG ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเอกชน
และแผนฯ ของ BCG ในภาคการเกษตรนั้นมีความต้องการแก้กฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ที่หลายฝ่ายยกย่องว่าเป็นกฎหมายที่รักษาสิทธิเกษตรกร แผนฯ BCG ต้องการล้มพ.ร.บ.ฉบับนี้ และแก้ไขให้เป็นไปตาม UPOV 1991(The International Union for The Protection of New Varieties of Plants) ซึ่งจะกระทบสิทธิเกษตรกรในการเก็บรักษาพันธุ์ รวมไปถึงเพิ่มระยะเวลาในการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ๆ มากขึ้น อีกฉบับเป็นเรื่องของพ.ร.บ.ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะเปิดทางให้มีการปลูกพืช GMO ส่งผลกระทบทางเกษตร ผู้บริโภค และความหลากหลายทางชีวภาพ
คุณสฤณี อาชวนันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัทป่าสาละ จำกัด เสนอว่า ถ้าจะผลักดัน BCG ให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ในแผนปฏิบัติการเรื่องของทรัพยากรฐานชีวภาพ Bioeconomy ควรต้องมีการคุ้มครองสิทธิเกษตรกร สิทธิชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น นิเวศน์วัฒนธรรม นิเวศน์เกษตรกรรม ไม่ควรปล่อยไปสู่สถานการณ์ที่ว่า เกษตรกรไม่สามารถควบคุมทรัพยากรที่อยู่ในฐานชุมชนตนเองได้ เช่น เมล็ดพันธุ์ ถ้าเกิดเกษตรกรปลูกอะไรแล้วไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในฤดูถัดไปหรือนำไปค้นคว้าทดลองได้ ก็ถือเป็นการลิดรอนสิทธิ
คุณสฤณีกล่าวว่า เรื่องการจัดการขยะ Circular Economy ลดขยะให้มากสุด zero waste แผนปฏิบัติการฯ พูดถึงแต่การลดขยะอาหาร ไม่พูดถึงภาพใหญ่ของการจัดการขยะทั้งหมดในประเทศ จะทำยังไงให้สามารถเพิ่มอัตราการจัดการขยะ ซึ่งปัจจุบันเราจัดการขยะได้แค่ 30 %ของขยะที่มีทั้งหมดเท่านั้น ประเทศไทยเป็น Top 6 ของโลกที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเล แถมเรายังเริ่มเป็นประเทศที่รับเอาขยะจากต่างประเทศเข้ามาจัดการอีก ทั้งที่ขยะของประเทศเราเองยังจัดการได้ไม่ดี
คุณสฤณียังเสนออีกว่า เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม Green Economy ในบริบทเรื่องภาวะโลกรวน ควรต้องพูดถึงการบรรเทาภาวะโลกรวนและการปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกรวน Adaptation เวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 Conference of Parties(COP27) ก็เพิ่งคุยกันว่าจะต้องตั้งกองทุนเพื่อชดเชยความสูญเสีย ชดเชยความเสียหายจากผลกระทบสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลง
คุณสฤณีกล่าวว่า ข้อเสนอด้านกิจกรรมที่ควรต้องดำเนินการ ได้แก่ การรับมือภาวะโลกรวน และอีกกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ก็คือการปฏิรูปภาคพลังงาน เพราะภาคพลังงานเป็นปัญหามากของประเทศ ต่อให้บริษัทอุตสาหกรรมอะไรก็แล้วแต่ประกาศจะมุ่งเป้าไปสู่ Net Zero ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก ถ้าตราบใดที่ยังซื้อไฟฟ้าใช้อยู่ แล้วไฟฟ้าก็ผลิตจากแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็น Fossil มันก็เป็นไปไม่ได้
คุณสฤณีกล่าวว่า ข้อเสนอแนะสุดท้าย เราได้ข้อสังเกตจากการอ่านแผนฯ ซึ่งผู้ร่างมาจากบริษัทใหญ่ ในแผนฯ มีแต่คำว่าปลดล็อกกฎระเบียบกติกาต่างๆ ซึ่งแน่นอนต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถขับเคลื่อน BCG หรือดูแลปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้าง BCG Model ได้เลย ถ้าเราไม่มีกฎกติกาดูแล อยากให้ใช้คำว่า smart regulation มากกว่า
จะให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมได้ไหมในการกำกับดูแล BCG ถ้าต่อไปเราทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมได้ ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมได้ไหมในการกำกับกิจการเหล่านี้ในท้องถิ่น ถ้าเราไม่คิดถึงเรื่องเหล่านี้ มันก็อาจจะเป็น BCG หัวโต เป็น BCG ที่ไปอยู่ในรายงานประจำปีของบริษัทขนาดใหญ่ มากกว่าจะเป็น BCG ที่ไปสู่ความทั่วถึงอย่างแท้จริง
สรุปประเด็นเวทีเสวนาฯ โดย สิริกุล บุนนาค, freelance journalist และอดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์สายการศึกษาและรายงานพิเศษ
Indie • in-depth online news agency
to “bridge the gap” and “connect the dots” with critical and constructive minds on development and environmental policies in Thailand and the Mekong region; to deliver meaningful messages and create the big picture critical to public understanding and decision-making, thus truly being the public’s critical voice