The Songkhram River and Bung-Tham forests (Lowland swamp and forest shurbs), Si Songkhram District, Nakhon Phanom. Photo: ©KAS Thailand/Pattravut Boonprasert

ลำน้ำสาขา …คือสายเลือดที่หล่อเลี้ยง

มิใช่ว่าแม่น้ำโขงสายประธาน (The mainstream Mekong River) เท่านั้นที่มีความพิเศษ ยิ่งใหญ่และสำคัญ ลำน้ำสาขา (Tributary rivers) ทุกขนาดของแม่น้ำโขงต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแม่น้ำโขงสายประธาน เพราะลำน้ำสาขาย่อยๆ จำนวนมากก่อให้เกิดลำน้ำโขงสายหลัก การตัดขาดความเชื่อมโยงระหว่างลำน้ำสาขาและแม่น้ำโขงสายประธานด้วยการสร้างเขื่อนและฝายจำนวนมาก ได้นำมาสู่การสูญเสียความสมดุลของระบบนิเวศของลำน้ำทั้งสายย่อยและสายประธาน เพราะแม่น้ำถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ส่งผลต่อการหยุดการไหลหรือการไหลแบบไม่เป็นธรรมชาติ จนท้ายที่สุดส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อยจำนวนมากมายที่อาศัยในพื้นที่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

แต่กระนั้น การพูดถึงความสำคัญและสร้างความหมายให้กับลำน้ำสาขาเชิงการเมือง นโยบาย และการจัดการของรัฐในมิติความยั่งยืนและเป็นฐานการดำรงชีพของชุมชนกลับยังไม่เข้มข้นและมากพอ เมื่อเปรียบเทียบกับการหยิบยกเรื่องราวของแม่น้ำโขงมาตีแผ่อย่างต่อเนื่องผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะการแสดงออกของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมประมง และกระทรวงการต่างประเทศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

อีกทั้งการจัดการลำน้ำสาขาด้วยการพัฒนาเขื่อนและระบบชลประทานทุกขนาดโดยหน่วยงานรัฐนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สะท้อนการมอง “การเป็นลำน้ำสาขา (being)” ว่าเป็นเพียงแหล่งวัตถุดิบเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำรองรับความต้องการของผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน โดยการสร้างเขื่อนและฝายทุกขนาดขนาดดังที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมชลประทานที่ว่า “กรมชลประทานมีภาระกิจการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เพียงพอและจัดสรรน้ำให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท” ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พลังงาน และ สาธารณูปโภค (กรมชลประทาน, 2561: 8)

 ในขณะที่ “การเป็นลำน้ำสาขา” ในสายตาของภาคประชาชนที่อาศัยน้ำและทรัพยากรจากลำน้ำสาขา กลับมีความแตกต่างๆจากการเป็นลำน้ำสาขาในมุมมองของภาครัฐ อ้อมบุญ ทิพย์สุนา เลขาธิการสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (สัมภาษณ์ 22 ธันวาคม 2564) อธิบายว่า ลำน้ำสาขาเปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยที่มีความสำคัญมากที่เกื้อหนุนลำน้ำสายหลักคือแม่น้ำโขงที่เปรียบเหมือนเส้นเลือดใหญ่ ลำน้ำย่อยในฐานะเส้นเลือดฝอยได้รวมกันหลายเส้นเพื่อสร้างเส้นเลือดใหญ่ การเกิดแม่น้ำสายหลักที่มาจากการรวมตัวของแม่น้ำสายย่อยๆ หรือ ลำน้ำสาขาย่อยๆเป็นต้นกำเนิดของน้ำสายหลัก แม่น้ำหลักต้องอาศัยลำน้ำสาขาย่อยๆ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ลำน้ำสายย่อยประกอบสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยของปลา ครอบคลุมแหล่งน้ำหลากหลายระบบน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ เป็นพื้นที่อาศัยของปลา ชาวบ้านและเกษตรกรจำนวนมากที่อาศัยพื้นที่ของลำน้ำสาขาในการทำมาหากิน โดยเฉพาะคนตัวเล็กตัวน้อยซึ่งมีจำนวนมากกกว่าคนริมแม่น้ำโขงสายหลักด้วยซ้ำไป ดังนั้น การสร้างเขื่อนในลำน้ำสาขา จึงเปรียบเสมือนกันกักเลือดไม่ไหลลงเลือดใหญ่

สำหรับภาคประชาชนแล้วพบว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ได้มีการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองในภาคอีสานเกี่ยวกับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการทั้งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ได้แก่ การเคลื่อนไหวของประชาชนในโครงการโขง ชี มูล และโครงการเขื่อนปากมูลภายใต้การเคลื่อนไหวของสมัชชาคนจน และล่าสุดคือโครงการโขง เลย ชี มูล เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าภาคประชาชนให้ความสำคัญกับแม่น้ำสาขามาโดยตลอด

แม้ว่าการจัดการลุ่มน้ำของรัฐจะใช้กรอบคิดการจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสาน (Integrated Water Resource Management) ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า การนำกรอบคิดนี้ไปใช้ยังมีช่องว่างมากเพราะเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับภาคประชาชนในพื้นที่เชิงแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำ เช่น กรณีชีโครงการผันน้ำโขง ชี มูล และ ต่อมาปรับเป็นโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล

การเมืองเรื่องลำน้ำ

หน่วยงานระดับชาติ เช่น สทนช. และกรมชลประทานมักให้ความสนใจเกี่ยวกับแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมาจากการมีมุมมองเกี่ยวกับระดับ (scale) ของลำน้ำและการมีแนวทางการบริหารจัดการระดับของลำน้ำต่างกัน ส่งผลต่อการสร้างทางเลือก (choices) ในการจัดการทรัพยากรน้ำในลำน้ำสาขาและลำน้าสายหลักต่างๆกัน อีกทั้งการจัดการน้ำก็มิได้ตรงไปตรงมาและเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด หากแต่เต็มไปด้วยการเมืองของการจัดการแม่น้ำ (ดู Lebel et al., 2005)

ทั้ง สทนช. และกรมชลประทานในฐานะผู้กระทำการผู้มีทั้งอำนาจ (power) และ สิทธิอำนาจ (authority) ในการกำหนดนโยบาย แผน การจัดกสรรงบประมาณและความรู้ในการออกแบบและจัดการแม่น้ำทุกระดับให้แตกต่างกัน พร้อมทั้งกำหนดทางเลือกในการจัดการลำน้ำแต่ละระดับต่างกันในทุกๆมิติ นับตั้งแต่มิติด้านการเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการออกแบบและก่อสร้าง จำนวนเม็ดเงินในการลงทุน การจัดแบ่งลุ่มน้ำ การประเมินความต้องการน้ำและแหล่งน้ำต้นทุน เวลาในการดำเนินโครงการ การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางเชิงนโยบายการพัฒนาแหล่งนี้เพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม และหน่วยงานยังต้องออกแบบกรอบการทำงานเชิงสถาบันเพื่อรองรับการจัดการทรัพยากรแม่น้ำแบบต่างๆ

สำหรับการจัดการลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงนั้น กรมชลประทานได้พัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่ เช่น การพัฒนาอภิมหาโครงการโขง ชีมูลในทศวรรษ 2530 ที่ขับเคลื่อนโดยนักการเมืองทุกยุคทุกสมัยด้วข้ออ้างสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเพื่อแก้ความยากจนและแก้ปัญหาภัยแล้งในภาคอีสาน โดยมีแผนสร้างเขื่อนและฝายเพื่อการชลประทานในลำน้ำชีและมูลจำนวนมากถึง 26 แห่ง (ธาราคอนซัลแตนท์จำกัด, 2544: 2-1-2-2 ) เป็น 3 ระยะ รวมระยะของการพัฒนาโครงการมากถึง 42 ปี (2535-2576) ด้วยงบประมาณระยะที่ 1 มากถึง 39,508 ล้านบาทในการสร้างตัวฝายและเขื่อน รวมทั้งระบบคลองชลประทานและอุโมงส่งน้ำ ซึ่งสร้างไปแล้ว 15 แห่ง โดยคาดว่าจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานจำนวน 4. 98 ล้านไร่ ใน 15 จังหวัดของภาคอีสาน (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551: 36)

ต่อมาในราวๆ กลางทศวรรษ 2550 รัฐโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ขยายโครงการเป็นโครงการโขง เลย ชี มูลระยะที่ 1 โดยแรงโน้มถ่วง ด้วยงบประมาณสำหรับการพัฒนาทั้งระบบ เช่น ประตูน้ำและการพัฒนาอุโมงค์ผันน้ำ 17 แถว มีมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท และได้ทำการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2555 (สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, ออนไลน์) โครงการนี้ได้สร้างประตูศรีสองรักน้ำที่แม่น้ำเลย จากนั้นจะผันด้วยแรงโน้มถ่วงมายังเขื่อนอุบลรัตน์และเก็บกักตามเขื่อนและฝายของโครงการโขง ชี มูลในลำน้ำชีและมูลต่อไป

นอกจากนี้ กรมชลประทานในฐานะผู้กระทำการผู้มีอำนาจและสิทธิอำนาจทำหน้าที่พัฒนาระบบชลประทานในทุกขนาดของลำน้ำตามพันธกิจด้านการสร้างความมั่นคงทางน้ำ กรมฯได้สรุปข้อมูลจำนวนโครงการชลประทานทุกขนาดในประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปี 2561 ว่ามีทั้งสิ้นจำนวน 20,349 โครงการ รวมพื้นที่ชลประทานจากโครงการชลประทานทุกประเภทรวม 33,528,894 ไร่ จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ 149,242,393 ไร่

โดยแยกเป็น (1) โครงการขนาดใหญ่จำนวน 97 โครงการ เพื่อเน้นจัดหาน้ำเพื่อเกษตรกรรม ผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรมและมีพื้นที่ชลประทานมากกว่า 80,000 ไร่และเก็บกักน้ำมากกว่า 100 ล้านลูกบากศ์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำมากกว่า15 ตารางกิโลเมตร (2) โครงการชลประทานขนาดกลางจำนวน 860 โครงการที่เน้นจัดหาน้ำเพื่อเกษตรกรรม มีพื้นที่ชลประทานน้อยกว่า80,000 ไร่และเก็บกักน้ำไม่เกิน 100 ล้านลูกบากศ์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำต่ำกว่า 15 ตารางกิโลเมตร) และ (3) โครงการชลประทานขนาดเล็ก โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและโครงการแก้มลิงจำนวนจำนวน 19,392 โครงการ โดยเน้นจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตรในพื้นที่ห่างไกล (กรมชลประทาน, 2561: 19)

การพัฒนาระบบชลประทานขนาดใหญ่และกลางในลำน้ำสาขาย่อยและลำน้ำสาขาหลักของกรมชลประทานมักไม่สอดประสานกับการจัดการน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าของหน่วยงานอื่น ขอยกตัวอย่างกรณีการสร้างฝาย ในลำน้ำน้ำเซบกซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำมูล จากประสบการการวิจัยพบว่า การศึกษาหรือการพูดถึงความสำคัญของลำน้ำเซบกแทบไม่มีเลยระหว่างหน่วยงานของรัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้สร้างเขื่อนปากมูลในลำน้ำมูลที่เป็นแม่น้ำหลัก ขณะที่กรมชลประทานสร้างฝายบ้านโอดในลำน้ำเซบกซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำมูล แต่หน่วยงานทั้งสองมิได้มีการบริหารจัดการเขื่อนปากมูลและฝายบ้านโอดให้สอดคล้องกัน

งานของผู้เขียนพบว่า ลำน้ำเซบกมีความสำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนในชนบท กลุ่มคนยากจนหรือกลุ่มคนที่เปราะบางในฐานะแหล่งอาหารประจำวัน รายได้เล็กๆน้อย แหล่งน้ำอุปโภคบริโภคและเกษตกรรม แหล่งสมุนไพร ไม้ฟืน สมุนไพรจากพืชพรรณริมรอบแม่น้ำ อีกทั้งเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ลำนำสาขาเล็กๆแห่งนี้ยังเกื้อหนุนและรักษาความชุ่มชื่นให้กับระบบนิเวศย่อยๆ การสร้างเขื่อนปากมูลในลำน้ำหลักคือแม่น้ำมูลได้ส่งผลกระทบการสูญหายไปของพันธุ์ปลา อาหารและรายได้ของชาวบ้านริมลำน้ำเซบกเพราะการลดลงของปลาในลำน้ำมูล ซึ่งส่งผลให้ปลาในลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลลดลงตามไปด้วย ขณะเดียวกันการสร้างฝายบ้านโอดก็เป็นอุปสรรคต่อการอพยพของปลาระหว่างเหนือฝายและท้ายฝ้ายซึ่งกำลังซ้ำเติมจากการลดลงของปลาจากแม่น้ำมูลที่อพยพเข้ามาที่ลำน้ำเซบกจากการสร้างเขื่อนปากมูล (Baird et al., 2020)

การพัฒนาที่ยั่งยืนหากปราศจากลำน้ำสาขา?

ลำน้ำสายหลักจะดำรงอยู่อย่างยั่งยืนไม่ได้หากลำน้ำสาขาไม่สมดุลและยั่งยืน และการพัฒนาอีสานให้ยั่งยืนต้องให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรในลำน้ำสาขาโดยไม่ทำลายระบบนิเวศสังคมเฉพาะแบบต่างๆ เช่น ระบบนิเวศสังคมแบบพื้นที่ชุ่มน้ำที่เกิดขึ้นในลำน้ำสาขา จากหลักฐานมากมายพบว่า การสร้างเขื่อนและฝายเพื่อพัฒนาคนอีสานให้มีความอยู่ดีกินดีด้านรายได้จากภาคเกษตรกรรมภายใต้โครงการโขง ชี มูล เพื่อเติมความเป็นสีเขียวให้กับอีสาน และการพัฒนาโครงการโขง เลย ชี มูลในขณะนี้นั้น แม้ว่าจะสามารถขยายพื้นที่ชลประทานได้ แต่กลับพบว่าการสร้างเขื่อนและฝายในลำน้ำสาขามาพร้อมกับปัญหามากมายเช่นกัน น้ำท่วมแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน การสูญเสียแหล่งอาหาร รายได้ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่ป่าจำนวนมาในเขตพื้นที่ชุมน้ำราษีไศล และการกระจายตัวของดินเค็ม (สนั่น ชูสกุล, 2556) และ พื้นที่ลำน้ำเลยจากการสร้างประตูระบายน้ำศรีสองรักที่น้ำคาดว่าจะท่วมหมู่บ้านและพื้นที่ชุ่มน้ำ (สำนักข่าวชายขอบ, 2562)

โครงการเหล่านี้ได้นำมาสู่การต่อสู้เรื่องค่าชดเชยของชาวบ้านในพื้นที่เขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนาภายหลังการสร้างเขื่อนชลประทาน ในขณะที่ชาวบ้านได้ประโยชน์จากโครงการชลประทานในลำน้ำสาขาไม่มากตามแผนที่ตั้งไว้เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร การลดลงของความเป็นเกษตรกรรมในชนบทเนื่องจากชาวบ้านหันมาให้ความสนใจกิจกรรมการผลิตนอกภาคเกษตรกรรมโดยการเข้ามาทำงานในเมืองและพึ่งพาทรัพยากรจากเมืองมากขึ้น (Floch and Molle ., 2013)

ขณะที่งานศึกษาของผู้เขียนในลำน้ำห้วยขะยุงที่เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลพบว่า มีชุมชนมากกว่า 100 ชุมชนในลำน้ำห้วยขะยุงและชาวบ้านในพื้นที่พึ่งพาทรัพยากรปลาในลำน้ำสาขาย่อยๆ ทั้งลำน้ำห้วยขะยุงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ รายหลักของชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และรายได้เสริมของชาวบ้านจำนวนมาก นอกจากนี้ชาวบ้านมีองค์ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปลา ชนิดปลา แหล่งหาปลา เครื่องมือการจับปลา ฤดูการอพยพ และระบบนิเวศปลาอย่างสำคัญอีกด้วยและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบันและลำน้ำห้วยขะยุงส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนาซึ่งเป็น 1 ในโครงการโขง ชี มูล

ดังนั้นจำต้องให้ภาคประชาสังคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอความสำคัญกับลำน้ำสาขาและความเชื่อมโยงระหว่างลำน้ำสาขาและลำน้ำสายหลักโดยการหยิบยกให้ลำน้ำสาขาในฐานะเส้นเลือดฝอยให้กลายเป็นเรื่องเด่นและแผ้วถางให้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง (environment as political issue) อยู่ตลอดไป เนื่องจากลำน้ำสาขามีความสำคัญพอๆกับลำน้ำโขงสายประทาน

ภาคประชาชนและภาควิชาการต้องเรียกร้องรัฐให้ใส่ใจและมีความสนใจที่จะกำหนดท่าทีเชิงนโยบายให้ชัดเจนด้านความยั่งยืนในการจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ผ่านการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และประเด็นการประเมินครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และ สุขภาพ มิใช่มองเห็นลำน้ำขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ที่เป็นสาขาย่อยของแม่น้ำโขงเป็นเพียงสรรพสิ่งทางกายภาพและชีวภาพที่สามารถจัดการด้วยระบบชลประทานขนาดต่างๆ และระบบที่เกี่ยวข้องดังที่ผ่านมา

The Mekong’s veins

It is not the mainstream Mekong River alone that is special. Its numerous tributaries, regardless of size, are no less important. Like blood veins, they are intertwined. Any disconnect between the mainstream Mekong River and its tributaries through disruption, and mega-projects in particular, could precipitate the loss of ecological balance. Any dissection of these complex veins could disrupt the flow of the river, affecting the natural river cycle that can no longer support the livelihoods of those dependent on them, including those in the Northeastern region.

The importance of the Mekong tributaries and their relationship with the mainstream river are often overlooked when looked through the lens of state policies. Issues concerning them are downplayed when compared to the Mekong itself.  

Past and present water management projects are a clear reflection of the state’s perspective towards these water resources. They are viewed and treated as just “raw materials” that are needed to be developed to serve the needs of stakeholders. This can be seen from the number of projects developed by prime water management agencies, like the Royal Irrigation Department (RID).

In the eyes of civil society, however, these water resources are like veins supplying blood to the artery_the Mekong River_as explained by Ormbun Thipsuna, a prominent Mekong community leader and Secretary-General of the Network Association of the Mekong Community Organizations Council of the seven Northeastern provinces. Cutting these veins off is like shutting off blood supply to the artery, said Ms. Ormbun, using a physiological simile to make her point.

River politics?

The state’s perspective towards the Mekong’s tributaries leads to water management with selective scales and river politics, even in integrated water management. They are managed with different scales, plans and budgets, depending on how the concerned state agencies view them and plan for them. The knowledge and technology applied in the plans and projects are also different. Above all, these are dominated by concerned state agencies that have both “authority” and “power” endorsed by the state.

One prominent case is the Kong-Chi-Mun project, first introduced in the 1980s as a large-scale project in the region to eradicate poverty that was seen plaguing the region. As many as 26 water development projects were planned on the Chi-Mun tributaries and connected into one large network of potential irrigation resources, expected to help supply irrigated water to nearly five million rai (800,000 hectares) in 15 Northeastern provinces. Following strong opposition and protests, this mega-project was eventually scrapped.

It was not until the mid-2000s that the project was dusted off by the Office of National Water Resources (ONWR) and rebranded as Kong-Loei-Chi-Mun Phase One, under which a network of irrigation infrastructure, including mega-gravitational irrigation tunnels, was devised.

This is not to mention that often, the ambition of these state agencies is not in line with that of other agencies that also eye the potential of the water resources for other purposes, such as power generation. Take the case of Lam Se Bok, which is the Mun’s tributary. While it was dammed, its significance to local livelihoods_being the source of the Mun’s fishery_was hardly addressed at all, according to studies by the Social Research Center. Worse, the weir built over the tributary was not planned in line with the highly controversial Pak Mun dam, further undermining their effectiveness.

Worthy development without Mekong tributaries?

The region’s development would not be worthwhile without taking into consideration the significance of the Mekong’s tributaries. To introduce sustainable development to the region, the Mekong tributaries must be taken into account. This is because they are fundamental to the region’s ecosystems that are each unique, as well as local livelihoods that depend on them.

Evidence has repeatedly taught us how the region’s unique ecosystems sustained by the Mekong’s tributaries are being degraded and deteriorated. The lost ecosystems have demonstrated the loss of indispensable local food sources, local income, and even local livelihoods and culture. As development in the region moves forward at a rapid pace, it’s time to leverage the significance of these Mekong tributaries and ecosystems that have long supported the livelihood of the region’s locals.

Dialogues and paradigms related to them must be shifted towards a more participatory approach, under which wider stakeholders and participants have more roles in decision-making and planning about these resources, not just the state representatives.

Last but not least, they should not be looked at as “raw materials” to be managed physically and biologically for all concerned, but instead should be viewed through a multi-dimensional lens_be they environmental, public health, social, and even cultural aspects for more sustainable development of the region.

บทความนี้เป็นบทนำในหนังสือภาพ ลุ่มน้ำสงคราม I The Mekong’s Womb โดยรองศาสตราจารย์ ดร. กนกวรรณ มะโนรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี