Biodiversity Forum: iNaturalist, the rise of Citizen Science in Global Biodiversity Policy? (in Thai)

นับจากเดือนตุลาคม 2564 ไปจนถึงกลางปี 2565 จะเป็นช่วงเวลาสำคัญของงานด้านอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะจะมีการประชุมระดับโลก The Fifteenth meeting of the Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity (COP 15) ในกลุ่มประเทศสมาชิกของอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biodiversity-CBD)) เพื่อร่วมกันออกแบบกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี พ.ศ.2563 หรือที่เรียกว่า The Post 2020-Global Biodiversity Framework ซึ่งประเทศภาคีจะนำไปกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายระดับชาติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกได้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2593

นอกจากยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่จะกำหนดขึ้นใหม่แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ องค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดทิศทางการทำงาน ซึ่งนอกจากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้ว ภูมิปัญญาและความรู้ในท้องถิ่นและจากภาคประชาชนก็มีความสำคัญไม่น้อย เมื่อคำนึงถึงขนาดของปัญหาและความท้าทายที่ครอบคลุมประเทศไทยในวงกว้าง

Citizen Science หรือวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง เป็นแนวทางหนึ่งที่กำลังได้รับการผลักดันให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ผ่านการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครมาร่วมทำการศึกษาวิจัยโดยเน้นการเก็บรวมรวมข้อมูล โดยได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาใช้เก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นเพื่อประกอบข้อมูลข้อท็จจริงทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ

แอพพลิเคชั่นต่างๆ รวมทั้ง iNaturalist เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้น และเริ่มมีการประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก ในประเทศไทยเอง ได้มีการเริ่มนำเครื่องมือนี้มาประยุกต์ใช้เก็บข้อมูลธรรมชาติในท้องถิ่น

เครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับมากน้อยขนาดไหน และสามารถช่วยยกระดับองค์ความรู้ Citizen Science และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการร่วมกำหนดนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้มากน้อยขนาดไหน ยังเป็นคำถามที่ท้าทายและน่าค้นหาคำตอบร่วมกันของคนในสังคม

Biodiversity Forum จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านที่สนใจร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นความท้าทายของการพัฒนาองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพภาคประชาชนในเวทีเสวนาออนไลน์ผ่านระบบZoom, iNaturalist, the rise of Citizen Science in Global Biodiversity Policy? ในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 13.15-15.00 น.

ติดต่อประสานงาน

Piyaporn Wong: FB Messenger/Bangkok Tribune News l 089-920-8027

*ลงทะเบียนยืนยันการเข้าร่วมเวทีเสวนาผ่านโปรแกรม Zoom ล่วงหน้าที่:

https://us02web.zoom.us/meeting/register/tZEtdu6tpj8sGdyCbGExYZ46cOpwSB35vUsI

**ท่านสามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดเวทีเสวนาฯ ทาง Facebook Live ผ่านทาง FB Page ของ Bangkok Tribune News, SEA- Junction, UNDP Thailand, BIOFIN Thailand, GYBN Thailand, ReReef

Partners

  • UNDP Biodiversity Finance Initiative-BIOFIN for Thailand
  • องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN)
  • เครือข่าย Thailand Biodiversity Network Alliance (B-DNA)
  • โครงการดาวและภาคีป่าชายเลนประเทศไทย (Dow and Thailand Mangrove Alliance)
  • Global Youth Biodiversity Network-GYBN Thailand
  • Wildlife Conservation Society-Thailand Program (WCS Thailand)

Media Partners

(สนับสนุนโดย: Konrad-Adenauer-Stiftung (Thailand Office)

  • Bangkok Tribune Online News Agency
  • SEA-Junction