โครงการผันน้ำยวม

การประชุมรับฟังความเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (ครั้งที่ 2)

การประชุมรับฟังความเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (ครั้งที่ 2) โดยคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ กรมชลประทาน วันที่ 18 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นความพยายามหาทางออกในความเห็นที่ยังแตกต่างกันอีกครั้งของผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นตัวแทนจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลักดันโครงการ ไปจนถึงผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ เมื่อวันที่

บทเรียน 34 ปีแห่งการหยุดเขื่อนแก่งเสือเต้นและปกป้องป่าสักทองของชาวสะเอียบ

กว่า 34 ปีที่ชาวบ้านตำบลสะเอียบ จังหวัดแพร่ ยืนหยัดต่อสู้กับแนวคิดการพัฒนาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของรัฐ “เขื่อนแก่งเสือเต้น” พวกเขาเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์การต่อสู้ที่ยาวนานถอดเป็นบทเรียนให้สังคมไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CESD) เรียบเรียงความทรงจำของผู้นำชุมชนรุ่นบุกเบิก กำนันเส็ง ขวัญยืนที่มีโอกาสแบ่งปันบทเรียนกับชาวบ้านที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากโครงการผันน้ำยวมเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก

ตำน้ำพริกละลายข้ามแม่น้ำ: ความไม่คุ้มค่า (เชิงเศรษฐศาสตร์) ของโครงการผันน้ำยวม

ภายหลังการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน มีมติผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของ “โครงการผันน้ำยวม” หรือโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา นักเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนและนักวิชาการด้านต่างๆ

จากสาละวินถึงยวม,โครงการผันน้ำยวมสู่เขื่อนภูมิพลฉบับ “EIA ร้านลาบ”

“โครงการผันน้ำยวม” หรือโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) และมีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งมีพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาโครงการฯ