About 100 km downstream from Pha Dai Cliff in Wiang Kaen District is located the Pak Beng dam. Photo: Sayan Chuenudomsavad

Mekong Dams and Electricity Bills; Who really wants electricity? I เขื่อนแม่โขง ค่าไฟ ใครต้องการไฟฟ้า?

Three hydropower dam projects on the Lower Mekong in Lao PDR have raised concerns over severe impacts on the environment following controls of the river flows that are against the natural cycle. In addition, a large portion of electricity from them will have been directly supplied to Thailand amidst questions over the “artificial” demand for power claimed by state authorities

State authorities often claim the country needs to maintain energy security by seeking extra sums of energy or power from its neighbours, among those is Lao PDR, which is the region’s major hydropower producer. However, skyrocketing electricity bills have reflected that the current energy policy has already placed a huge burden on Thai consumers. This is not yet to mention ecological losses and impacts on local people whose lives depend on the river’s natural resources.

Energy experts and policymakers discussed the challenges brought by the push for Mekong dam projects as well as possible solutions and policy recommendations at the Dialogue Forum, “Mekong Dams and Electricity Bills: Who really wants electricity? shortly after the Thai government gave a green light to power purchase agreements or PPAs to three consecutive dams planned on the Lower Mekong in Laos.

The National Energy Policy Council approved power purchase agreements in mid-2022 for three hydropower dams planned on the Mekong River in Laos, namely Pak Beng Dam, Pak Lay Dam and Luang Prabang Dam. The decision prompted concerns over its energy policy and planning regarding an excessive amount of the country’s reserved power already in place.

Dr. Decharut Sukkumnoed, Director of Think Forward Centre, gave an overview of power planning under the framework of the Power Development Plan (PDP), saying it was normally estimated under a principle of forecasted domestic power consumption and demand plus 10% of reserved power.

According to the PDP 2018, this increased to 15%, prompting the estimated electricity demand to become around 40,000 MW. But in 2021, the Energy Ministry learned that actual electricity consumption stood at only around 33,177 MW. The power purchasing agreements were undertaken, prompting the total electricity volume to become 51,000 MW, which was over 53% exceeding the reserved amount at 15%.

The plan also included electricity imports from overseas up to 3,500 MW to support insufficient electricity in the Northeast. By 2037, it was estimated that the region needed electricity around 8,300 MW, but according to the plan, the volume would have increased to 16,302 MW, which was 95% beyond the reserved volume set at 15%. Meanwhile, the new PDP 2022 was under a challenge to achieve the global commitment of Net Zero in 2065 as the purchase volume of renewable energy was still far from the set target.

Among electricity imported from overseas is the volume of hydropower from the Mekong. Under the rules and procedures of the Mekong River Commission (MRC), any planned projects on the mainstream river will have to at least notify or consult with MRC members through the process of Procedure Notification, Prior Consultation and Agreement (PNPCA), which normally takes around six months to complete. But this is not compulsory, the point which is still subject to controversy for dam building on the Mekong River. That’s the reason why the PPAs for those three projects could go ahead as their PNPCAs were already completed.

Policy recommendations

From the points of view of the experts and other members of civil groups, they have shared a similar concern on environmental impacts, potential loss of local livelihoods, and unfair power policy to consumers while trying to come up with recommendations despite some failed attempts.

Sirikanya Tansakul of the Move Forward Party, who chaired the Lower House committee on economics development, said they received complaints from the locals against those dams and tried to examine the rules and procedures concerned as well as the PPAs. But EGAT refused to disclose information regarding the PPAs, citing a reason of the privacy of the contractors. The committee was particularly concerned about the new burden brought to Thai consumers by these new dams as they would raise the electricity price up to 2.50-2.90 baht per unit, being more expensive than the price of solar energy which was calculated at 2.20 baht per unit.

It suggested that the PPAs be subject to review based on people’s utmost interest. For the long term, a new transboundary Environmental Impact fund (EIA) should be established to compensate for the losses and be subsidized by the project developers.

The legal case of the first Xayaburi dam project has finally set a new standard for the construction of hydropower on the Lower Mekong and a PPA as they must go through a process of PNPCA. However, the administrative court ruled against the case of the Pak Beng dam, citing the reason that it was an issue beyond the Thai territory even though it could lead to adverse impacts on the Thailand-Laos borderline, raising a new challenge to any transboundary projects.

Meanwhile, local representatives including Niwat Roykaew of Raksa Chaing Khong, the prominent anti-dam building on the Mekong said that the projects along the Mekong River lacked governance. He cited incompleted EIAs for the projects and the flawed PNPCA.

The experts and local representatives at the forum agreed that people should have a right to participate in the government’s energy security policy and planning because the impacts are immense, especially regarding the burden of increased electricity prices and power bills and the right to natural resources. Parliament could play more role especially regarding people’s right to natural resources and impacts on agreements with foreign countries. They also called for a new transboundary impact assessment study to achieve a proper mitigation plan.

Meanwhile, the PNPCA procedures need improvement and the MRC itself needs reforms so they can better function to protect the people’s benefits and interests in the region. Importantly, the government should formulate laws and regulations to ensure the public that its energy policy and planning as well as PPAs must not cause the burden to people, of people’s financial burden, natural resources, and the country’s interests such as border security.

FB LIVE RECORDING: Dialogue Forum 3 I Year 3: Mekong Dams and Electricity Bills; Who really wants electricity?

รัฐบาลไทยในปี 2022 ตัดสินใจเดินหน้าอนุมัติการซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนลุ่มน้ำโขง 3 โครงการ ได้แก่ เขื่อนปากแบง เขื่อนปากลาย และเขื่อนหลวงพระบางที่ตั้งอยู่บนแม่โขงใน สปป.ลาว สร้างความกังวลแก่สาธารณะในส่วนของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลายด้าน โดยเฉพาะแนวชายแดนไทย-ลาว 

ประกอบกับปัญหาปริมาณสํารองไฟฟ้าของไทยที่พบว่าเกินปริมาณการใช้จริงอยู่แล้ว ทำให้การวางแผนด้านพลังงานของไทยกับการเร่งซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศถูกตั้งคำถามดังขึ้นทุกขณะ

ประเทศไทยกับการวางแผนด้านพลังงานเป็นประเด็นท้าทายในสาธารณะมาโดยตลอด โดยเฉพาะในเรื่องความสมดุลย์ในการจัดหาพลังงานและความต้องการใช้พลังงาน นอกจากการพึ่งพาแหล่งพลังงานต่างๆ การนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหรือเขื่อนบนแม่น้ำโขง มักถูกวางแผนให้เป็นส่วนสำคัญในการวางแผนด้านพลังงานของประเทศ อย่างไรก็ตามแผนดังกล่าวมักถูกตั้งคำถามจากสาธารณะมาโดยตลอดเช่นกัน เนื่องจากผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และความไม่สมเหตุสมผลในการคิดคำนวนความต้องการในพลังงานและไฟฟ้าที่นำมาซึ่งการผลักดันการจัดหาและการลงทุนผลิตไฟฟ้าที่สูงเกินจริง

ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายพลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้วิเคราะห์ความท้าทายดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในเวทีเสวนา “เขื่อนแม่โขง ค่าไฟ ใครต้องการไฟฟ้า?” ในห้วงเวลาที่รัฐบาลตัดสินใจเดินหน้าอนุมัติการซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนลุ่มน้ำโขง 3 โครงการ ได้แก่ เขื่อนปากแบง เขื่อนปากลาย และเขื่อนหลวงพระบางที่ตั้งอยู่บนแม่โขงใน สปป.ลาว ในช่วงกลางปี 2022

ดร.เดชรัตน์ สุขกําเนิด ผู้อํานวยการ Think Forword Center กล่าวว่า แผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟ้าหรือ PDP ไทย เป็นการวางแผนเพื่อทําให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงอยู่ตลอดเวลา โดยในอดีตใช้เกณฑ์กําลังการผลิตสํารองฉุกเฉินไว้ 10 % แต่ได้มีความพยายามนำเกณฑ์ใหม่ในการวัดความความมั่นคงของระบบไฟฟ้ามาบรรจุในแผน PDP 2022

ตามแผน PDP เดิม มีกระบวนการวางแผนกําลังการผลิตสํารองรวมถึงการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เริ่มต้นจากการพยากรณ์ว่าความต้องการไฟฟ้าที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคตโดยพิจารณาจากต้นทุนที่สมเหตุสมผล ผลกระทบต่างๆ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สู่แบบจําลองการผลิตไฟฟ้า ทำประชาพิจารณ์และการตัดสินใจ แต่ที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาในหลายขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเผยข้อมูลของร่างแผน PDP ฉบับใหม่ต่อสาธารณะ  

ทั้งนี้จากแผน PDP 2018 มีการคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการใช้ไฟที่ 35,213 เมกะวัตต์ หากเพิ่มกำลังสำรองที่ควรมีอีก15% ที่เป็นอัตราที่คำนวณแล้วว่าความสมดุลกันระหว่างความมั่นคงกับต้นทุนของค่าไฟ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ไฟหรือประชาชนแบกรับภาระจากการสำรองไฟที่ล้นเกินไป ดังนั้นเมื่อนำมารวมกับปริมาณการคาดการณ์แล้ว จึงได้ตัวเลขว่าควรจะมีไฟฟ้าอยู่ประมาณ 40,000 เมกะวัตต์ 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจากกระทรวงพลังงานช่วงเดือนเมษายนปีก่อนหน้านั้น พบว่ามีการใช้ไฟที่ 33,177 เมกะวัตต์  หากรวมกับ 15% กําลังการผลิตสํารองรวมควรจะเป็น 38,153 เมกะวัตต์ ในขณะที่ตัวเลขที่ได้ทําสัญญาเอาไว้ทั้งในประเทศและต่างประเทศมีตัวเลขกำลังไฟรวมอยู่ที่ 51,000 เมกะวัตต์ จึงเห็นได้ว่า มีกําลังการผลิตสํารองเกินไปประมาณ 17,863 เมกะวัตต์ หรือโรงไฟฟ้าประมาณ 17 โรงหรือเกินไป 53% ทำให้เป็นปัญหาตามมา

และหากแยกออกมาเป็นรายโรงไฟฟ้า หลายโรงมีอัตราการเดินเครื่องน้อยลง บางโรงหยุดเดินเครื่อง บางส่วนมีผลจากโควิด และพบว่ามี 6 โรงที่ไม่ได้เดินเครื่องเลย แต่ยังเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายเป็นค่าไฟฟ้าที่รัฐยังต้องจ่าย เมื่อคำนวณแล้วจะตก 24 สตางค์ต่อหน่วยที่รัฐต้องจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าเหล่านี้

ดร.เดชรัตน์กล่าวว่า ในส่วนของประเด็นเขื่อนนั้นพบว่า ในแผน PDP เดิมระบุไว้ว่า กําลังการผลิตใหม่ที่จะเกิดในปี 2569-80 หนึ่งในนั้นจะต้องมีการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 3,500 เมกะวัตต์ เมื่อค้นไปลึกๆ ก็พบว่าการซื้อไฟจากประเทศลาว มีเป้าหมายเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่คาดว่าไฟฟ้าจะไม่พอ แต่เมื่อพิจารณาลงไปพบว่า เตรียมการสูงกว่าการคาดจริงที่อยู่เพียง 8,355 เมกะวัตต์ แต่เตรียมไว้ให้สูงถึง 16,302 เมกะวัตต์ หรือสูงถึง 95% ของกําลังการผลิตสํารองไฟฟ้าในภาคอีสาน ดังนั้น จึงเป็นคำถามว่าทําไมถึงต้องมีกําลังสำรองสูงขนาดนั้น  

ดร.เดชรัตน์กล่าวต่อว่า สำหรับแผน PDP 2022 ยังมีประเด็นที่ต้องพูดถึงคือเรื่องของพยายามเข้าสู่จุดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 หลังจากที่ไทยเพราะว่าให้ committment กับสากลไปแล้ว ซึ่งจะทำให้เห็นโอกาสว่าไทยอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าจาก 3 เขื่อนนี้  ซึ่งที่ผ่านมาแผนพลังงานที่มีอยู่ยังไม่สอดคล้องกัน แต่กระทรวงพลังงานก็พยามที่จะทำแผนให้สอดคล้องกัน โดยมีการกำหนดการรับซื้อไฟจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพราะจากข้อมูลก็พบว่าการใช้พลังงานยังใช้งานได้ไม่เต็มที่ทำให้ยังมีการรับซื้อที่ยังไม่ถึงเป้าหมาย ยังเหลือส่วนที่สามารถรับได้อีก 

ขณะเดียวกัน ในส่วนของการประเมินศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่พร้อมจะเข้าสู่ระบบในอนาคตทบทวนใหม่ว่าภายในปี 2580 เห็นว่ามีพลังงานหมุนเวียนจะมีศักยภาพที่ไม่จํากัด เพราะว่าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในต้นทุนสามารถทำได้ แม้จะต้องไปพิจารณาที่แบตเตอรี่ เพราะว่าการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ถ้าใช้เยอะกว่านี้อาจจะต้องพ่วงด้วยระบบแบตเตอรี่  แต่ก็จะทําให้เห็นโอกาสที่อนาคตไทยก็อาจจะที่จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยที่ไม่จําเป็นจะต้องมีเขื่อน 3 เขื่อนนี้

การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง

คุณฉวี วงศ์ประสิทธิพร ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ในการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง  สทนช.ทำหน้าที่ในฐานะเลขาฯ ของหน่วยงานแม่โขงแห่งชาติไทย โดย MRC ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ของ 4 ประเทศ  โดยที่เลขาธิการแม่น้ำโขงเป็นผู้บริการวิชาการ ภายใต้ข้อตกลงว่า 4 ประเทศร่วมกันตัดสินใจหากจะมีการพัฒนาบนแม่น้ำ เรียกว่า ความตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน ไม่ได้ห้ามพัฒนา แต่จะต้องทั้งใช้ และอนุรักษ์ เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน แบบสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ร่วมกัน หากประเทศใดจะพัฒนาจะต้องแจ้งให้ทราบหรือหารือ ถ้าเป็นการพัฒนาในลำสาขาเพียงแค่ทําเอกสารไป แต่กรณีเขื่อนแม่โขง ที่แม่น้ำโขงเลย ต้องเข้าขั้นตอนที่เรียกว่า ต้องหารือล่วงหน้า แต่หากนำน้ำออกไปใช้นอกแม่น้ำโขง ต้องเห็นชอบร่วมกัน 

กรณีของเขื่อนน้ำโขงจะเข้าหลักการ prior consultation ซึ่งผู้พัฒนาจะต้องส่งเอกสารมาที่เอ็มอาร์ซี ตามหลักการทุกประเทศเทียมกัน ใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผล และเป็นธรรม เคารพสิทธิ์ของประเทศอื่น แต่หลักนี้ไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่เป็นเพียงข้อตกลง ผู้พัฒนาจะแจ้งรายละเอียดต่างๆ หากสมาชิกต้องการอะไรก็ต้องแจ้งกลับไปให้ไปปรับแก้ตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งตามข้อตกลกถ้าสร้างอยู่ในประเทศนั้นๆ จะหยุดไม่ได้ แต่สามารถนำมายื่นเพื่อให้พิจารณาข้อกังวลหรือผลกระทบเพื่อให้ไปปรับแก้  และได้มีการส่งข้อกังวลไปแล้วเพื่อให้ไปแก้ในแบบ แต่ไม่ได้แก้ไขตามข้อกังวลทั้งหมด หากประเทศผู้พัฒนาแก้บางส่วนก็ไม่สามารถไปทำอะไรได้

ที่ผ่านมา สทนช. ก็พยามทำมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากมีขั้นตอนและเวลามากทั้งในและต่างประเทศ ปกติใช้เวลา 6 เดือน แต่ล่าสุดเขื่อนสานะคาม ที่ สทนช. เห็นว่ามีผลกระทบมาก ก็เลยไม่จบใน 6 เดือน จนต้องเกิดทวิภาคีระหว่างไทยกับลาวที่จะไปศึกษาเพิ่มเติม นั่นคือเหตุผลว่าทำไมหยุดไม่ได้ นอกจากทำแล้วเกิดผลกระทบแล้วไปฟ้องศาลโลก หลายฝ่ายก็ไม่อยากให้ไปถึงกระบวนการนั้นจึงต้องพูดคุยกันไปอย่างนี้

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการตามข้อตกลง 4 ประเทศ เริ่มต้นทที่การส่งเอกสารประเมินโครงการ เอกสารด้านเทคนิคมาเพื่อให้ 4 ประเทศพิจารณาตอบโดยในขั้นตอนที่พิจารณาตามที่ประเทศพัฒนาส่งมา สทนช. จะนำไปคุยในเวทีระดับชาติอนุกรรมการระดับชาติและระดับประเทศ มีเวทีที่ไปพบกับชาวบ้านเป็นเวทีย่อยในช่วง 6 เดือน แต่หากยังไม่เคลียร์ ก็ต้องต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งกรณีสานะคาม ไทยไม่ตอบ reply from แม้จะถึงเวลา 6 เดือนแล้วก็ตามจึงทำให้ต้องยืดเวลาไปไม่จบจนถึงตอนนี้

ทั้งนี้สำหรับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำทั้งหมด ในแม่น้ำโขงแบ่งออกเป็นสามตอน ด้านบนคือตอนบนในจีน ตอนกลางที่อยู่ในเขตของลาวอย่างเดียว แล้วกลุ่มที่สามเป็นแถว จ.อุบลฯ ไปถึงกัมพูชา สำหรับกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า จีนไม่ได้ทำข้อตกลงกลุ่ม 4 ประเทศ แต่ทําตามขั้นตอนครบ เขื่อนสุดท้ายคือจิ่งหง รวมแล้วได้ประมาณ 3-4 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร เป็นการพิจารณาจากการนำน้ำไปใช้ ไม่ได้กล่าวถึงเป็นเมกะวัตต์

แม้ว่าส่วนในจีนจะอยู่นอกข้อตกลงแต่น้ำทุกครั้งที่มีการประชุมจะเชิญมาร่วมตลอด แชร์ข้อมูลทั้งในฤดูฝนและ ฤดูแล้ง โดยความร่วมมือของจีน แต่ก็เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาโดยเฉพาะในลาวการขอข้อมูลผ่านหลายหน่วยงาน ในขณะที่ในจีนได้ทำจบไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เห็นว่าต้องปรับแก้ เพราะกว่าจะได้ข้อมูลก็ไม่ทันการณ์แล้ว ปัจจุบันหลายเขื่อนในลาว ทำ PNPCA จบไปแล้ว แต่สำหรับสานะคามยังทำไม่จบ

ทั้งนี้ในสัญญาซื้อไฟที่ EGAT จะทําสัญญาได้ ระบุว่ากระบวนการ PNPCA จะต้องผ่านแล้ว และโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ผ่านแล้วจึงมี 3 แห่งคือ เขื่อนปากแบง หลวงพระบาง และปากลาย นั่นคือเมื่อกระบวนการตรงนี้จบ จะกลายเป็นเรื่องพลังงานที่ สทนช. ก็จะไม่ทราบ และหากจะเปิดเผยอะไรต้องอยู่ที่การยินยอมด้วย

ส่วนเขื่อนตอนล่างสุดลงมายังไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่อยู่ในแผน แต่มีเขื่อนพูงอยที่กำลังเตรียมทำ PNPCA เขื่อนนี้อยู่บริเวณปากเซ ท้ายน้ำปากมูลลงไป ซึ่งต้องพิจารณาว่าถ้าทําแล้วน้ำจะขึ้นทางปากมูลหรือไม่ นอกจากนี้จะมี เขื่อนดอนซะฮงซึ่งขณะนี้ operateไปแล้ว และยังมีอีกสองเขื่อนคือ สตึงเพ็งกับซัมบอในกัมพูชาที่ยังไม่ได้เตรียมอะไรขึ้นมา

ธรรมาภิบาลและการตรวจสอบ 

คุณศิริกัญญา ตันสกุล ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการฯ ได้รับหนังสือร้องเรียนจากเครือข่ายลุ่มแม่น้ำโขง จาก 3 เขื่อนคือปากลาย ปากแบง และหลวงพระบางซึ่งจะผลิตไฟฟ้า  90 กว่าเปอร์เซ็นต์ขายให้กับประเทศไทย โดยคู่สัญญาคือ กฟผ. และบริษัทเอกชนที่เป็นผู้สร้าง ส่วนบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นบริษัทเอกชนสัญชาติไทยอาจจะมีการร่วม ซึ่งคิดว่ามีอํานาจที่จะต่อรองได้เต็มที่ จุดบอดคือเรื่องที่ทำ PNPCA ทําทุกอย่างจบไปแล้ว

ตั้งแต่ก่อนที่ไซยะบุรีเริ่มกระบวนการก่อสร้างแล้วเดินไฟฟ้า และช่วงที่ไซยะบุรีเริ่มเดินเครื่องก็เห็นแล้วว่าผลกระทบมหาศาล ไม่เป็นไปตามการประเมินผลกระทบ เช่น เรื่องของตะกอนดินที่หาย ไปจนทําให้น้ำโขงกลายเป็นสีฟ้าใสแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์

โดยในการพิจารณาของกรรมาธิการเห็นว่า สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือเรื่องของสัญญา โดยได้รับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสัญญาถูกเซ็นต์ก่อนการพิจารณาผลกระทบข้ามพรมแดนเสร็จ ดังนั้นจึงเป็นความเสี่ยงเพราะแทบจะไม่รู้เลยว่าผลกระทบจะเป็นอะไรบ้าง รวมถึงการเยียวยาผลกระทบ แม้ว่าจะมีการริเริ่มตั้งกองทุนเพื่อที่จะเยียวยาผลกระทบแต่ก็เป็นเม็ดเงินเพียง 40 – 60 ล้านบาทเท่านั้น หากเทียบกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกรรมาธิการฯ พยายามขอดูสัญญาแต่ถูกปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าเป็นความลับของเอกชน ตนจึงตั้งคำถามว่าเงินที่ EGATนำไปซื้อไฟไม่ใช่เงินของประชาชนหรือ และเมื่อขอให้ชะลอออกไปก็ได้รับคำตอบว่าหน่วยงานที่มีอำนาจไม่ได้บอกให้ชะลอจึงไม่มีเหตุผลที่จะทำ

การที่เรื่องนี้เข้าไปในกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการผลิตไฟฟ้าและค่าไฟตามที่รู้กันว่ากําลังการผลิตไฟฟ้าล้นอยู่แล้ว เหตุใดต้องซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก รัฐบาลเองก็ยอมรับว่ากําลังไฟฟ้าผลิตเกินจริงแต่จะไม่ใช่ 50% อย่างที่ระบุ เพราะว่าไม่ได้เอามาหักลบช่วงยอดพีคกับกําลังการผลิตไฟฟ้ารวม โดยบอกว่าต้องพิจารณาเฉพาะกําลังการผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาได้หรือว่า depandable reserve แต่เมื่อถามว่า depandable reserves มาจากไหนกลับไม่เคยชี้แจง หรือเปิดเผยอย่างเป็นทางการ 

แต่ความเป็นจริง ไม่เชื่อว่ากำลังผลิตที่เกินมาไม่ได้มาจากโควิดแต่เกินมาก่อนหน้านั้น ดูจากกราฟของกําลังการผลิต เพิ่มขึ้นสูงขึ้นหลังจากปี 57 ที่น่าจะมีกําลังการผลิตสํารองอยู่ที่ระหว่าง 40 – 50% มาโดยตลอด ต้องถามที่ผู้กําหนดนโยบาย อาทิ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ส่งสํานักงานนโยบายและแผนพลังงานมาตอบคำถามในกรรมาธิการ ซึ่งได้รับคำตอบว่าเป็นเรื่องของค่าไฟ

ส่วนคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานระบุว่า เป็นเพราะว่า Net Zero พอไปดูว่าค่าไฟจะลดจริงหรือ ก็จริงที่ว่าไฟจากพลังงานน้ำมีราคาถูก ไปดูตัวเลขย้อนหลังพบว่าถูกจริงประมาณ 1.50 -1.90 บาทแต่กรณีสามเขื่อนนี้ค่าไฟที่รับซื้อจากเขื่อนสูงขึ้นมา 2.50 – 2.90 บาท กลายเป็นว่าขึ้นมาสองเท่า ซึ่งไม่ได้มีราคาถูก ถ้าเทียบกับเวลาที่รับซื้อกับประชาชนหรือว่าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่แค่ประมาณ 2.20 บาท แต่หากพูดตอนนี้อาจจะได้ใจประชาชนเพราะกำลังเจอปัญหาค่าไฟแพงจากก๊าซ แต่เข้าใจว่ากว่าโรงไฟฟ้าเหล่านั้นจะสร้างเสร็จในอีกสิบปีข้างหน้า สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนไป จึงน่าสงสัยว่าค่าไฟจะลดลงจริงหรือไม่ 

ส่วนในเรื่องต่อมาเรื่อง Net Zero ว่าจะช่วยได้หรือไม่ เพราะไม่ต้องใช้พลังงานจากจากฟอสซิล แต่ก็มีแผนอยู่แล้วว่าเราไม่ต้องซื้อพลังงานก็สามารถบรรลุเรื่อง Net Zeroได้เหมือนกัน และหน่วยงานที่มาตอบคำถามก็ตอบไม่ได้ว่าทำไมต้องรีบทำแผน 2018 ที่จะหมดอายุแล้ว และ PDP 2022 เป็นแผนใหญ่ให้ครอบคลุมทุกอย่างกำลังจะเสร็จ ก็ไม่รู้ว่าจะสอดคล้องกันหรือไม่ กรรมาธิการจึงขอให้หน่วยงานกลับไปหาข้อมูลมาใหม่แล้วเรียกกลับมาในครั้งต่อไปแต่ก็ไม่มา กระบวนการนั้นจึงจบสิ้นไป 

นอกจากนี้ในการแก้ปัญหาเรื่องการเซ็นต์สัญญาซื้อไฟที่ยังไม่ได้รับรู้เรื่องผลกระทบนั้น กรรมาธิการฯ ก็ได้พยายามขอดูสัญญานั้น แต่ถูกปฏิเสธว่าเป็นเรื่องของความลับของเอกชนไม่สามารถเปิดเผยได้ จึงตั้งคำถามว่า EGATเป็นคู่สัญญากับรัฐแต่ทำไมดูไม่ได้ และประชาชนเองเป็นคนจ่ายไฟจึงทำไม่เปิดเผยไม่ได้ และเมื่อให้ชะลอออกไปก็ได้รับคำตอบว่าหน่วยงานที่มีอำนาจไม่ได้บอกให้ชะลอจึงชะลอไม่ได้

คุณศิริกัญญายังกล่าวถึงเรื่องของทางออกว่า มีพูดคุยกันหลายเรื่องทั้งเรื่องทบทวนสัญญา อย่างหนึ่งคือพยายามผลักดันแก้ไขระยะยาวคือการทําเป็นกองทุนอีไอเอ ที่ไม่ใช่เป็นการจ้างตรงระหว่างเจ้าของโครงการกับคนทํารายงาน โดยให้บริษัทจ่ายกองทุนและให้กองทุนเป็นผู้ว่าจ้างแทนเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระ และยังมีแนวคิดว่าต้องในแนบท้ายสัญญาว่าต้องมีการซื้อประกัน ความเสี่ยงที่จะเกิดจากผลกระทบ โดยคํานวณเป็นเบี้ยกับทางบริษัทเจ้าของโครงการแทน ซึ่งบริษัทประกันจะคิดความเสี่ยงอย่างตรงไปตรงมาแล้วมาชาร์จราคาที่เป็นจริงไม่ใช่ราคาที่มโนเอาเอง ต้นทุนที่เกิดขึ้นทางเจ้าของโครงการต้องรับไป มีกลไกการรับผิดรับชอบชัดเจนแล้วประชาชนได้รับการคุ้มครองจากประกันนี้

คุณส.รัตนมณี พอกล้า ทนายความ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ประสานงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า จากการพิจารณาคําพิพากษาไซยะบุรีที่ประชาชนเป็นฝ่ายแพ้ จะเห็นว่าศาลมองเห็นว่าอาจมีผลกระทบ แต่เพราะเป็นการฟ้องเรื่องสัญญาซื้อไฟ ศาลจึงมองว่าสัญญาซื้อไฟไม่เขียนผลกระทบที่เกิด จึงพิพากษายกฟ้อง ซึ่งตอนนั้นชาวบ้านมาฟ้องสัญญาซื้อไฟเพราะว่ามีเทคนิคในการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงที่จะไม่ให้สามารถเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างตัวเขื่อนได้ หากติดตามกระบวนการสร้างเขื่อนมาในอดีตไม่ได้เป็นการให้เอกชนมาสร้างแล้วจึงให้ EGAT ซื้อไฟ แต่จริงๆ แล้ว EGAT ริเริ่มสร้างเขื่อนเอง 

จากการต่อสู้ของภาคประชาชนในประเทศไทย ทําให้กระบวนการก่อสร้างเขื่อนเปลี่ยนจากการที่ กฟผ.สร้างเอง มาเป็นให้เอกชนสร้างเพื่อเลี่ยงการถูกฟ้อง เมื่อเหลือแต่ตัวสัญญาซื้อไฟ สิ่งที่ได้รับจากการฟ้องคดีเรื่องเขื่อนไซยะบุรีคือ หลังจากนั้นทุกสัญญาซื้อไฟกําหนดว่า จะต้องมีกระบวนการผ่าน PNPCA ก่อน แต่ EGAT ไปเซ็นต์สัญญาโดยยังไม่ผ่านกระบวนการนี้ หลังจากนั้นพอฟ้องคดีไป เลยมีกระบวนการที่สัญญาซื้อไฟจากในแม่น้ำโขงกลายเป็นว่าจะต้องผ่าน PNPCA  และตอนนี้ทราบแล้วว่าทุกเขื่อนผ่านไปแล้วแต่ยังมีคําถามว่าผ่านจริงหรือ โดยเฉพาะกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เห็นว่ายังไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่

ดังนั้น เมื่อมีการฟ้องกรณีของเขื่อนปากแบงที่ฟ้องศาลในกระบวนการ ไม่ใช่เรื่องสัญญาซื้อไฟ โดยตอนนั้นยังไม่รู้ว่าใครจะทําสัญญาซื้อไฟจากเขื่อนนี้ แต่ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติ สทนช. มาทําหน้าที่ในการปกป้องแม่น้ำโขง  แต่ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องที่อยู่นอกประเทศ ไม่มีอะไรยึดโยงกับโครงการที่เกิดขึ้นในประเทศลาว จึงมีคําสั่งไม่รับฟ้องทั้งศาลชั้นต้น และศาลปกครอบสูงสุด ดังนั้น ต้องกลับมาพิจารณาว่ามีกระบวนการใดทำได้อีก จนมาพบการต่อสู้ในอดีตเกี่ยวกับประเด็นการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย จะต้องไปผ่านรัฐสภาเพื่อที่จะมีการประชุมผ่านสัญญานั้น 

เมื่อไปค้นในรัฐธรรมนูญปี 60 พบว่าในมาตรา178 วรรคสองเขียนไว้ว่า หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตของประเทศไทย หรือหนังสือสัญญาอื่นที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน คําว่าตรงหนังสือสัญญาอื่น หมายถึงหนังสือสัญญาที่จะทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วนด้วย เพราะฉะนั้น กรณีเรื่องสัญญาซื้อไฟอาจจะต้องไปพิจารณากันว่าเป็นสัญญาที่จะส่งผลกระทบ ที่จะก่อให้เกิด หรือมุ่งหมายก่อให้เกิดการ แต่ในอาณาเขตของประเทศไทยหรือเปล่า หรือจะทําให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปบ้างหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจะต้องเข้ารัฐสภา

ที่สําคัญมากไปกว่านั้นคือว่า กฎหมายกําหนดไว้ว่าต้องมีกฎหมายกําหนดวิธีการที่ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและได้รับการเยียวยาอันเกิดจากผลกระทบจากตัวหนังสือสัญญาที่ตนคิดว่าเป็นเรื่องสําคัญ ต้องพิจารณาใหม่ว่ากรณีสัญญาซื้อไฟ เขื่อน 3 เขื่อนหลังที่จะเกิดขึ้นหลังไซยะบุรี มีการร้องเรียนว่าจะก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมน้ำเท้อ บริเวณอําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและ เห็นว่ามีการศึกษาแล้วด้วยว่า ถ้าหากว่ามีน้ำเท้อ อาจจะเข้ามาในประเทศไทยไกลถึง 79 กิโลเมตร ถ้าหากเป็นแบบนี้จะถือว่าตัวสัญญาซื้อไฟที่ไปเซ็นต์สัญญาจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแนวแนวอาณาเขตตรงนี้หรือไม่ 

ซึ่งได้มีการร้องไปที่กรรมาธิการ สิ่งต่างๆ ที่พี่น้องในเครือข่ายน้ำโขงกําลังทําอยู่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ปกป้องประเทศปกป้องอาณาเขตปกป้องทรัพยากร แต่กําลังสู้กันเรื่องค่าไฟที่กําลังแบกรับภาระค่าไฟที่ไม่จําเป็นด้วย ในขณะที่มีหน่วยงานบางหน่วยงานและเอกชนบางส่วนได้รับผลประโยชน์จากตรงนี้

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระบบสายส่งไฟฟ้ามีชาวบ้านฟ้องร้องว่า ระบบสายส่งไฟฟ้าตอนนี้มีเยอะว่าเกี่ยวโยงกันกับเรื่องของไฟฟ้าในแม่น้ำโขงที่มีการซื้อขาย เพราะว่าไฟฟ้าที่จะรับซื้อมาไม่ได้เอามาเพื่อใช้ในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีการสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าจะเป็นตัวนําส่งไฟฟ้าไปขายในต่างประเทศด้วย 

ด้านคุณนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของและเจ้าของรางวัล 2022 Goldman Environmental Prize กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าเรื่องธรรมาภิบาลในแม่น้ำโขงไม่มีเลย ถ้ามีแล้วจะไม่ทำให้เกิดเขื่อนแบบนี้ ไม่ได้เพื่อทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ  เห็นชัดเจนแล้วว่าการสร้างเขื่อนไม่ใช่เรื่องของพลังงานไฟฟ้า เพราะพลังงานเกินมา 53% แต่เป็นเรื่องของการหาเงินหาทองกันของทุนใหญ่ ในอดีตเขื่อนอาจจะเป็นนวัตกรรมหรือว่าสิ่งที่ดี แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว เพราะมีผลกระทบมากมายกับสิ่งแวดล้อมทรัพยากรซึ่งคนได้อาศัยอยู่ได้ด้วย คนลุ่มน้ำโขงได้รับผลกระทบทั้งเรื่องค่าไฟที่สูงขึ้น แล้วสิ่งสําคัญคือสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงระบบถูกทําลาย จากเขื่อนทางตอนบนในจีน และเขื่อนตอนล่างคือเขื่อนไซยะบุรี  

ในส่วนของเขื่อนปากแบง มีผลกระทบทําด้านความมั่นคงทางอาหารรวมถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ และยังกระทบเรื่องของดินแดน 97 กิโลเมตรเข้าไปในลาว แต่น้ำเท้อขึ้นมาเกิดขึ้นแน่นอน จะเข้ามาถึง อ.เวียงแก่น อ.เชียงของ อ.เชียงแสน  มีข้อมูลนี้อยู่ว่าส่วนวิชาการสํานักงานบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงกรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเคยขึ้นมาสํารวจ ในเรื่องนี้พบมีพื้นที่เสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมทั้งหมด 27 หมู่บ้าน คือเชียงของ 6 หมู่บ้าน เชียงแสน 7 หมู่บ้าน เวียงแก่น 4 หมู่บ้าน ประชาชนยังไม่รู้ว่าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่มาก  กระบวนการ  PNPCA ของเขื่อนปากแบงก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ จนจะเซ็นต์สัญญาแล้วหลายหน่วยงานไม่รับรู้ ดังนั้น เรื่องนี้เห็นว่าผู้ที่รับผิดชอบเรื่องควรมั่นคง กระทรวงต่างประเทศต้องให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน ดินแดนอาณาเขตของประเทศ

ทั้งนี้ ทางภาคประชาชนได้ทําหนังสือไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลกระทบ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กองทัพภาค 3 เรื่องความมั่นคง กองกําลังผาเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และส่งถึงนายกรัฐมนตรี เพราะเกี่ยวข้องเรื่องความมั่นคงของอธิปไตย 

แนวทางแก้ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย

ในวงเสวนายังกล่าวถึงแนวทางเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ดร.เดชรัตน์เห็นว่า ยังมีความหวังโดยควรจะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์ตัดสินใจ ไม่ใช่ กฟผ. ที่ไปเซ็นต์สัญญาแล้วให้ประชาชนแบกภาระที่ค่าไฟ ดังนั้น ต้องจี้ไปที่ กฟผ. หรือทีรัฐบาลเพื่อให้ไปจี้ที่คนเซ็นต์สัญญาให้พิจารณาเรื่องนี้ รวมถึงเรื่องสนธิสัญญาเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง ต้องระมัดระวังมากเพราะหากแนวร่องน้ำเปลี่ยน การสูญเสียดินแดนในที่เป็นเกาะเป็นดอนในแม่น้ำโขงสามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงในฝั่งของประเทศไทยด้วย

นอกจากนี้มีประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียสิทธิ์ในทรัพยากรธรรมชาติ ต้องพิจารณาเรื่องเสียมวลน้ำ ไม่ใช่แค่แค่มวลน้ำ แต่ต้องคำนึงถึงอัตราการไหลที่สําคัญต่อระบบนิเวศและระบบทรัพยากร รวมถึงสิทธิในทรัพยากรประมงว่ากระทบหรือไม่ โดยอยากจะเห็นการตีความในเรื่องการเสียสิทธิ์ในทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะที่ไม่ใช่มองแค่มวลน้ำเป็นหลัก แต่มองที่สิทธิในการจะจัดการไหลของน้ำให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการป้องกันภัยพิบัติ ถ้าเริ่มต้นได้จะนําไปสู่การตีความได้ว่าการทําสัญญาเดียวกัน ไม่ใช่แค่แม่น้ำโขง แต่รวมถึงแม่น้ำสาละวิน และอื่นๆ 

คุณฉวีเห็นว่าต้องใช้อำนาจที่มีอยู่ซึ่งมีความพยายามอยู่ เรื่องผู้ทำสัญญายังแก้ไขได้ โดยผู้พัฒนาในลาวไม่ว่าจะเป็นจีน มาเลย์ หรือใดๆ ก็ตาม สุดท้ายก็จะต้องมาทำสัญญากับผู้ซื้อก็คือ EGAT ของไทย โดยในสัญญาแม้ว่าจะมีข้อมูลเรื่องน้ำต่างๆ หากหน่วยงานด้านการจัดการน้ำขอดูได้แต่ไม่สามารถนำมาใช้เรื่องการบริหารจัดการน้ำได้จะผิดข้อตกลง จะมีอีกแนวทางหนึ่งคือในช่วงที่เป็นร่างสัญญาคือตอนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐ โดย EGAT ภายใต้กระทรวงพลังงานจะรู้รายละเอียดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนจะทําสัญญาและอ้างว่าเป็นความลับของเอกชนส่งให้พิจารณาไม่ได้นั้น แต่ตอนเป็นการดำเนินการของรัฐในการทำร่างก่อนที่ไปทำสัญญากับเอกชน ต้องหารือในฝั่งรัฐบาล ทางหน่วยงานสามารถชี้ว่าต้องการแบบไหนอย่างไรได้ ต้องใช้ช่วงเวลานั้นระบุไปเพื่อมีข้อกำหนดที่รัดกุม ลดขั้นตอนเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดปัญหาร้องเรียนความเดือดร้อนจากแม่น้ำโขงหากกระทบในประเทศไทย และมีการร้องเรียน จะพบว่ามีขั้นตอนยาว เริ่มตั้งแต่ในไทย ผ่านหน่วยงานในไทยไป MRC มีกระบวนการที่ซับซ้อน อาจจะไม่ทันการแก้ไขผลกระทบที่ชาวบ้านเดือดร้อนอยู่ ดังนั้น แนวทางที่ควรจะทำคือจะต้องมีเส้นทางระหว่างผู้ที่โอเปอเรทเขื่อนกับคนได้รับผลกระทบ เพื่อให้รับทราบกันอย่างเร็ว เพื่อขอให้แก้ไขอย่างทันท่วงที ซึ่งในสัญญาควรระบุว่าจะต้องมีเส้นทางนี้ แต่ตอนนี้ไม่มีเส้นทางนี้ แม้ว่าจะเคยได้ยินว่า EGAT จะทำแต่ยังไม่เห็นความชัดเจน 

คุณฉวีกล่าวถึงการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นการทำรายงานลักษณะนี้มีเพียงการทำผลกระทบที่อยู่ท้ายเขื่อน ที่ทำไม่ได้เพราะติดปัญหาเรื่องการบุกรุกดินแดน หากเอกชนจะเข้ามาสํารวจร่องน้ำไทยต้องขออนุญาตผ่านรัฐต่างๆ  แต่ MRC ทำได้เพราะเชื่อมอยู่กับ 4 ประเทศ กรณีเขื่อนสานะคามที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเชียงคานเพราะอยู่ใกล้มาก แต่เอกชนไม่สามารถเข้ามาศึกษาได้ ดังนั้น การทำผลกระทบข้ามพรมแดนเป็นทฤษฎีที่เขียนเอาไว้ แต่บังคับให้ทําไม่ได้ เพราะว่าไม่สามารถจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่สามารถสํารวจดินแดนประเทศไหนได้ จึงเกิดผลกระทบข้ามพรมแดนจริงๆ  แม้ MRC จะพยายามทำ Joint Action Plan สิ่งที่ทำได้คือ ตั้งสถานีวัดระดับน้ำเพียงแค่ติดตามแต่แก้ไขผลกระทบไม่ได้  ทั้งที้จริงๆ ผู้พัฒนาโครงการจะต้องทำ นี่คือเหตุที่ PNPCA ของสานะคามไม่จบเพราะถ้าจบจะมีผลกระทบหลายด้าน

สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เห็นว่าจะต้องเป็นเรื่องปกป้องสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรของลดผลกระทบ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามข้อมูลของไซยะบุรีเพื่ออาจจะนำมาใช้เป็นฐานว่าเสียสิทธิ์ หรือกระทบสิทธิอะไรในการใช้ทรัพยากรหรือไม่ ส่วนสิทธิในการใช้น้ำคือกระทบต่อสิทธิที่เคยใช้เดิม กระทบกับการประกอบอาชีพหรือรายได้ แม้ลาวจะมีกองทุนประกันภัยแต่ต้องพิสูจน์ เพราะอาจจะบอกว่าเป็นภัยธรรมชาติในไทยเอง

คุณนิวัฒน์แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ว่า กระบวนการ PNPCA ไม่สามารถช่วยเรื่องผลกระทบได้ เห็นได้จากกรณีของเขื่อนปากแบงที่เห็นผลกระทบชัดเจน  ข้อตกลงร่วมก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ เพราะหากเกิดปัญหาจะเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ดังนั้น จะต้องมีการทบทวน เรื่องสําคัญคือเรื่องอธิปไตยเขตแดนที่จะเสียไป ถึงเวลาที่ต้องปรับปรุงหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของการจัดการลุ่มน้ำโขง ถ้าระเบียบข้อกฎหมายไปไม่ถึง ก็ไม่สามารถที่จะช่วยได้ 

ขณะที่ คุณส. มองว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง แต่คือประชาชนในประเทศไทยที่จะต้องมีภาระในการต้องซื้อไฟในราคาที่สูงขึ้นแน่นอนไม่มีทางที่จะลดลง ไม่เห็นความหวังของ PNPCA ที่กลายเป็นพิธีกรรมเพื่อเกิดความชอบธรรมในการผ่านโครงการ และตอนนี้เหมือนว่าไม่มีใครสนใจสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ประเด็นเรื่องแม่น้ำนานาชาติที่ระบุว่า ประเทศที่อยู่ต้นน้ำถ้าหากจะพัฒนาโครงการใดใดตามแล้วมีผลกระทบต่อประเทศปลายน้ำ จะต้องเคารพและไม่ดําเนินการใดใดในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับประเทศปลายน้ำที่ล้อไปกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ตนมองว่าคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติและรวมทั้ง สทนช ต้องเข้าไปให้ความเห็นและคัดค้านอย่างจริงจัง แสดงจุดยืนอย่างจริงจัง รัฐบาลต้องมีมีความเห็นและมีมติไปยังลาว เพราะไม่ใช่เรื่องเฉพาะของประเทศลาว แต่เรื่องเกี่ยวกับโดยตรงเพราะไทยได้รับผลกระทบ รัฐมีหน้าที่ต้องปกป้องพิจารณาดูแลประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในประเทศ 

คุณศิริกัญญากล่าวในตอนท้ายว่า ตนเชื่อว่ายังมีความหวัง แต่ว่าโจทย์ใหญ่รัฐบาลซึ่งตอนนี้เหลือกลไกสุดท้ายแล้วก่อนที่จะมีการเซ็นต์สัญญา โดยเห็นว่าต้องจี้ไปที่กระทรวงพลังงานเป็นหลักที่จะเป็นคนที่คอยให้ข้อมูลให้กับประธานของคณะกรรมการเพื่อผลักดัน ตอนนี้มองเห็นช่องโหว่อะไรอีกมากมาย  เช่นเรื่องของการทําอีไอเอข้ามพรมแดนซึ่งไม่มีอยู่จริง อาจจะต้องเป็นเวลาที่จะต้องมาพูดคุยกันจริงจังถึงกลไกของ MRC ว่า จะทําอย่างไรให้ MRC มีอํานาจจริงที่จะทําอะไรได้ แก้ไขกลไก โดยจะต้องได้รับการยินยอมจากจากผู้นําของทั้ง 4 ประเทศ วันนี้ไปต้องทำเรื่องสัญญาก่อนว่ายังพอแก้ไขระงับยับยั้งอะไรได้หรือไม่ แต่ระยะกลางระยะยาวจำเป็นที่จะต้องรื้อทั้งกระบวนการ

นอกจากนี้มองว่า รัฐธรรมนูญที่กําหนดไว้เป็นปัญหา หน้าที่ผู้แทนราษฎร มาตรา 178 แทบไม่ได้ให้อํานาจแก่รัฐสภาทําอะไร จากเดิมมาตรา 180 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ยังต้องระบุว่า จะไปเซ็นต์สัญญาอะไรต้องมาขอก่อน แต่ปี 60 บอกว่าไปเซ็นต์สัญญาหนังสือสัญญาอะไรกันให้เสร็จแล้วค่อยเอามาระบุกับทางรัฐสภาว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ถ้าไม่เห็นชอบอาจจะไม่ได้เอาไปปรับแก้อะไรเลย ดังนั้น เห็นว่าต้องรอรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปจะปิดช่องว่างนี้อย่างไร ซึ่งตนไม่ค่อยจะมีความหวังกับการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการตีความกฎหมายว่าจะเป็นคุณกับประชาชนจริงหรือไม่ ตอนนี้ต้องดูเรื่องสัญญาว่าจะทำอะไรได้บ้างเพื่อคุ้มครองผลกระทบ

ผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้าร่วมงานเสวนาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนระเบียบข้อกฎหมายในระดับภูมิภาคให้เป็นเชิงป้องกันมากขึ้น ที่ระบุว่ากฎหมายหลายอย่างคลุมอยู่แล้ว แต่อยู่ที่การปฏิบัติที่ต้องทำให้ครบ แต่การแก้อาจจะใช้เวลานานจึงต้องใช้กรอบเดิมไปก่อนแต่ต้องทำให้ครบ 

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคำถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะต่อรัฐบาลไทยว่า เขื่อนลาวน่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหากไทยจับมือกับกัมพูชาและเวียดนามในฐานะผู้อยู่ท้ายเขื่อน แต่ทําไมรัฐบาลและหน่วยงานไทยไม่ทํา  ประเด็นที่สองคือ ทําไมจึงไม่สามารถกํากับเอกชนของในการที่ไปลงทุนข้ามพรมแดนในประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งผลกระทบกลับคืนมากลับเข้ามาในประเทศไทย  ทําไม่ได้หรือไม่ต้องการที่จะทํา 

และมีการตั้งคำถามไปที่คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานที่มีกฎหมายกําหนดบทบาทไว้ชัดเจน เรื่องของการกํากับพิจารณาแลกิจการพลังงานทั้งหมดซึ่งสัญญาซื้อไฟอยู่ในอํานาจหน้าที่ การกํากับพิจารณาว่าการสัญญาซื้อไฟจะต้องไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนไทย ทั้งในเรื่องของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เรื่องทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ได้มีการดําเนินการตามนั้นหรือไม่ จนกลายเป็นคำถามใหญ่ที่ว่า ที่สุดแล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหนของเขื่อนในแม่น้ำโขง