Perspectives

ลำน้ำสาขา …คือสายเลือดที่หล่อเลี้ยง

มิใช่ว่าแม่น้ำโขงสายประธาน (The mainstream Mekong River) เท่านั้นที่มีความพิเศษ ยิ่งใหญ่และสำคัญ ลำน้ำสาขา (Tributary rivers) ทุกขนาดของแม่น้ำโขงต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแม่น้ำโขงสายประธาน เพราะลำน้ำสาขาย่อยๆ จำนวนมากก่อให้เกิดลำน้ำโขงสายหลัก การตัดขาดความเชื่อมโยงระหว่างลำน้ำสาขาและแม่น้ำโขงสายประธานด้วยการสร้างเขื่อนและฝายจำนวนมาก ได้นำมาสู่การสูญเสียความสมดุลของระบบนิเวศของลำน้ำทั้งสายย่อยและสายประธาน

การเงินสีเขียวเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า รัฐบาลของหลายประเทศได้ถือโอกาสของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ภายใต้มุมมองและมาตรการใหม่ที่จะทำให้ประเทศมีความมั่งคงอย่างยั่งยืน ดังเช่น นโยบายการฟื้นฟูสีเขียว (Green Recovery Policy Package) การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้มีสภาวะกลับมาใกล้เคียงดั่งเดิมก่อน Covid-19 จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐของหลายประเทศดำริที่จะปฏิรูป (reform) นโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างสังคมให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางการเงินการคลัง

กระแสโลกร้อนและพลังงานสะอาด: 2 เมกะเทรนด์ที่โลกเปลี่ยนและเปลี่ยนโลก

ภายหลังการประชุมเจรจาเรื่องโลกร้อน COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ในเดือนพฤศจิกายนช่วงปลายปีที่ผ่านมา คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)) ได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5

ระบบ “สมาร์ท” และความมุ่งมั่นในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพอันล้ำค่าในยุคหลังปี 2563

นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 นักวิทยาศาสตร์และนักนิเวศวิทยาต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การหยุดการสูญเสียและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศที่อุดมไปด้วยสายพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพเหล่านี้อาจช่วยรักษาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในอนาคตได้ การปกป้องและขยายพื้นที่อนุรักษ์คุ้มครองได้กลายเป็นเป้าหมายหลักของประชาคมโลก ดั่งที่มีการเสนอในร่างกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพหลังปี 2563 (Post-2020) ฉบับใหม่ (Global Biodiversity Framework) ว่า “พื้นที่ทางบกและทางทะเลทั่วโลกอย่างน้อยร้อยละ 30

การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและปกป้องสิ่งแวดล้อมหลังโควิด 19

วิกฤตโควิดทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากการเดินทางที่หยุดชะงัก โดยในปี 2562 ประเทศไทยเคยมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึงปีละ 3 ล้านล้านบาทหรือราว 18% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า วิกฤติเดียวกันก่อให้เกิดบทเรียนที่สำคัญในการปรับปรุงการท่องเที่ยวที่เคยสร้างผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity based

ตำน้ำพริกละลายข้ามแม่น้ำ: ความไม่คุ้มค่า (เชิงเศรษฐศาสตร์) ของโครงการผันน้ำยวม

ภายหลังการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน มีมติผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของ “โครงการผันน้ำยวม” หรือโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา นักเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนและนักวิชาการด้านต่างๆ

จากสาละวินถึงยวม,โครงการผันน้ำยวมสู่เขื่อนภูมิพลฉบับ “EIA ร้านลาบ”

“โครงการผันน้ำยวม” หรือโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) และมีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งมีพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาโครงการฯ